ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน

          ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์มาตั้งแต่เกิด และยังดำเนินความ 
สัมพันธ์กับชีวิตมาตลอด ดนตรีจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจนยากจะแยกออกจากกันได้ เพราะอาจจะถือได้ว่าศิลปดนตรีนั้นเป็นปัจจัยที่ห้าของมนุษย์ ที่สร้างดนตรีขึ้นเพื่อที่จะระบายความคิด ความรู้สึก หรือสร้างมโนภาพและประสบการณ์จริง ซิ่งอาจเป็นความสุขหรือความทุกข์ด้วยเหตุนี้จึงสร้างศิลปขึ้นมาเพื่อชีวิต ดนตรีจึงเป็นศิลปที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ดนตรีนั้นยังเกี่ยวข้องกับสังคมในแต่ละท้องถิ่นที่เรียกว่า ดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดสืบเนื่องกันมาของชาวบ้านที่ประกอบพิธีต่าง ๆ ดนตรีพื้นบ้านจึงมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน ทั้งในด้านบันเทิงใจของคนในสังคม ให้ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน และในด้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ช่วงชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งจะสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลหรือกลุ่มชนในระยะเวลาต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มชนยังคงรักษาไว้และนิยมเล่นกันในปัจจุบันอย่างเช่น ดนตรีพื้นบ้านอีสาน

ความเป็นมาของดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน

           ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน เป็นดนตรีประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประวัติความเป็นมานับพันปี และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยยังดำรงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้อย่างมั่นคง ในการศึกษาอาจสืบค้นจากการใช้คำว่า “ ดนตรี ” ในวรรณกรรมพื้นบ้านได้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน

           1. ประวัติการปรากฏคำว่า “ ดนตรี ” ศัพท์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทยกลางและไทยอีสานในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นคำภาษาสันสกฤต “ ตันตริ ” หรือจากภาษาบาลีว่า “ ตุริยะ ” หรือ “ มโหรี ” คำว่า “ ตันตริ ” ที่ปรากฏในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานเขียนว่า “ นนตรี ” ซึ่งก็คือ “ ดนตรี ” นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันดังนี้ 
                 1.1 คำว่า “ นนตรี ” พบในวรรณกรรมพื้นบ้านอีส่านหลายเรื่อง ได้แก่ สินไช แตงอ่อน การะเกด ดังตัวอย่างดังนี้ 
     - บัดนี้จักกล่าวเถิงภูชัยท้าว เสวยราชเบ็งจาล ก่อนแหล้ว ฟังยินนนตรีประดับ กล่อมซอซุง 
                   1.2 คำว่า “ ตุริยะ ” อาจเขียนในรูป “ ตุริยะ ” “ ตุริยา ” “ ตุริเยศ ” หรือ “ ตุริยางค์ ” เช่น 
     - เมื่อนั้นภูบาลฮู้ มุนตรีขานชอบ ฟังยินตุริเยศย้าย กลองฆ้องเสพเสียง 
                     1.3 คำว่า “ มโหรี ” อาจมาจาก “ มโหรี ” ที่เป็นชื่อปี่ หรือมาจากคำว่า “ โหรี ” ซึ่งหมายถึงเพลงพื้น 
เมืองชนิดหนึ่งของอินเดีย คำว่า “ มโหรี ” พบในวรรณคดีของอีสานดังนี้ 
     - มีทั้งมโหรีเหล้น ทังละเม็งฟ้อนม่ายสิงแกว่งเหลื้อม โขนเต้นใส่สาว (สิง = นางฟ้อน นางร้ำ) 
จะเห็นได้ว่า คำว่า “ นนตรี ” “ ตุริยะ ” และ “ มโหรี ” เป็นคำที่นิยมใช้ในวรรณคดีและหมายถึง ดนตรี ประเภทบรเลงโดยทั่วไป แต่ในปัจจุบันคำว่า ดนตรี หมายถึง ดนตรีของราชสำนักภาคกลางหรือดนครีไทยสากล ส่นดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานจะมีชื่อเรียกเป็นคำศัพท์เฉพาะเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น ลำ ( ขับร้อง) กล่อม สวดมนต์ สู่ขวัญ เซิ้ง เว้าผญา หรือจ่ายผญา สวดสรภัญญะและอ่านหนังสือผูก เป็นต้น

           การที่จะสืบค้นประวัติความเป็นมาของดนตรีอีสานให้ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงนั้นทำ ได้ยาก เพราะไม่มีเอกสารใดที่บันทึกเรื่องราวทางดนตรีโดยเฉพาะ จะมีกล่าวถึงในวรรณคดีก็เป็นส่วนประกอบของท้องเรื่องเท่านั้นเอง และที่กล่าวถึงส่นมากก็เป็นดนตรีในราชสำนัก โดยกล่าวถึงชื่อดนตรีต่าง ๆ เช่น แคน พิณ ซอ ไค้ (แคนของชาวเขา) ขลุ่ย กลอง ตะโพน พาทย์ (กลอง ระนาด ฆ้อง สไนง์ ( ปี่เขาควาย) สวนไล (ชะไล-ปี่ใน) ปี่อ้อหรือปี่ห้อ เป็นต้น ส่วนการประสมวงนั้นที่เอยก็มีวงมโหรี ส่วนการประสมอย่างอื่นไม่กำหนดตายตัวแน่นอน เขัาใจว่าจะประสมตามใจชอบ แม้ในปัจจุบันการประสมวงของดนตรีอีสานก็ยังไม่มีมาตรฐานที่แน่ยอนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามดนตรีอีสานในปัจจุบันที่ยังคงปฏิบัติอยู่มีทั่งดนตรีประเภทบรรเลงและดนตรีประเภทขับร้อง

วิวัฒนาการของดนตรีพื้นบ้านอีสาน

 

อ้างอิงจาก http://student.nu.ac.th/thaimusicclub/