การประสมวงดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือ

            การประสมวงดนตรีตามกลุ้มวัฒนธรรมหมอลำ เป็นกลุ้มวัฒนธรรมแถบอีสานเหนือเป็นส่วนใหญ่ ในสมัยก่อนไม่นิยมประสมวงหรือการบรรเลงด้วยกันจะมีเฉพาะประเภทกลองยาวแลเครื่งดนตรีผู้ไทเท่านั้น
ส่วนมากนิยมเล่นเครื่องดนตรีต่าง ๆ เป็นเอกเทศหรือเล่นเดียว ต่อมาภายหลังได้มีการประสมวงพิณ 
วงแคน วงโปงลาง ที่นิยมเล่นในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ส่วนวงดนตรีพื้นบบ้านที่เป็นของชาวบ้าน
จะมีน้อยมากที่พอมีอยู่บ้างก็คือ วงเพชรพิณทองซึ่งนำมาเล่นร่วมกับวงดนตรีลูกทุ่งจนเป็นที่นิยมแพร่หลาย รายละเอียดของการประสมวงดนตรีพื้นบ้านอีสานมีดังนี้

          1. วงกลองยาว เป็นการประสมวงกลองยาวประกอบด้วยกลองยาวประมาณ 3-4 ใบ 
กลองรำมะนาใหญ่ ที่ชาวบ้านเรียกว่า กลองตึ้ง 1 ใบ และฉาบ 1 คู่ ตีเป็นทำนองและจังหวะแบบอีสาน ชาวบ้านมักร้องเป็นทำนองว่า “ เปิ้ด เป่ง ฮึ้ม เป่ง เปิ้ด เป่ง เป่ง เปิ้ดเป่ง เป่ง เป่ง เปิ้ด ป่ง ฮึ่ม ” กลองยาวมักนิยมใช้ประกอบขบวนแห่ตามงานบุญต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแห่กันหลอน
ในงานบุญพระเวสสันดร

           2. วงแคน ประกอบด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานโดยมีแคนเป็นหลักจะมีจำนวนสักกี่เต้าก็ได้ นอกจากนั้นมีเครื่องดนตรีเสริมด้วย เช่น พิณ ซอ ฉิ่ง ไหซอง และกลองตามที่เห็นสมควรในแต่ละท้องถิ่น

           3. วงพิณ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานที่มีพิณเป็นหลักจะมีกี่ตัวก็ได้ นอกจากนั้นก็มีเครื่องดนตรีประกอบเสริม เช่น แคน ซอ ฉิ่งและกลอง

           4.  งโปงลาง ประกอบด้วยวงดนตรอีสานที่มีโปงลางเป็นหลักโดยจะมีโปงลางกี่ผืนก็ได้ นอกจากนั้นมีเครื่องดนตรีเสริม เช่น พิณ แคน ซอ ฉิ่ง กลอง เป็นต้น

           5. วงลำเพลิน ประกอบด้วยแคนและกลองชุด

           6. วงลำซิ่ง ประกอบด้วยแคนและกลองชุด

นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสานเหนือ

           การร่ายรำแบบชาวบ้านหรือเรียกกันตามท้องถิ่นว่า “ ฟ้อน ” นั้น มีหลายชนิด
แต่ละชนิดมีลักษณะประจำของมันเอง เช่น ลักษณะการก้าวเท้า สวมเล็บ ยกเท้าสูง กระตุกส้น 
ย่อตัว ฯลฯ ท่ารำต่าง ๆ เลียนแบบอากัปกิรอยาที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันแล้วนำมาประดิษฐ์ให้สวยงามและมีศิลปยิ่งขึ้น 
ชนิดของการร่ายรำพื้นเมืองของอีสานเหนือที่ปฏิบัติกันอยู่มีดังนี้

หมอลำ

การร่ายรำของหมอลำ 
          หมอลำหมายถึงนักร้องเพลงพื้นบ้านอีสาน การลำก็คือการร้องเพลงพื้นบ้านนั้นเอง การลำมีอยู่หลายทำนอง 
เช่น ทำนองลำสั้นหรือลำกลอน ลำยาวหรือลำล่องของ (ล่งโขง) หรือลำล่อง ลำเต้ย ลำเพลิน 
การแสดงของหมอลำแต่ละครั้งจะประกอบด้วยทำนองเหล่านี้ และบางขั้นตอนหมอลำจะลำพร้อมกับร่ายรำไปด้วย เช่น

ลำกลอนเกี้ยว 
          เป็นการลำทั่วไประหว่างหมอลำชายกับหมอลำหญิง เป็นการทดสอบความรู้ของอีกฝ่าย

ลำเต้ย 
          มีทำนองการลำโดยเฉพาะใช้ในการเกี้ยวพาราสีระหว่างหมอลำชายกับหมอลำหญิงด้วยคารมกลอน

หมอลำหมู่ 
          การลำหมู่เป็นการแสดงหลายคน แสดงเป็นเรื่องราวคล้ายลิเก ผู้แสดงแต่งตัวแต่งกายให้เหมาะสมกับฐานะตามท้องเรื่อง 
เรื่องที่นำมาแสดงได้จากนิทานหรือ วรรณคดีพื้นบ้านอีสาน ตัวแสดงที่สำคัญจะฟ้อนรำท่าทีอ่อนช้อยสวยงาม 
สว่นตัวตลกมักใช้ท่าทางที่ชวนขบขัน

ดนตรีที่ใช้ประกอบ 
          คือ แคน พิณ ฉิ่ง ฉาบ และกลอง

เซิ้ง 
          การเซิ้งเป็นการเลียนแบบชีวิตประจำวันมีหลายอย่างและมีผู้คิดประดิษฐ์เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่อยู่เสมอ 
เช่น เซิ้งสวิง (เครื่องมือจับปลา) เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งสาวไหม การเซิ้งเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานเหนือ 
งานเทศกาลทหรสพคบงันต่าง ๆ ถ้าขาดเซิ้งไปจะทำให้บรรยายกาศของงานกร่อยไปมากที่เดียว

ดนตรีที่ใช้ประกอบ 
          วงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบเป็นวงผสม มีแคน พิณ ซอ และเครื่องประกอบจังหวะต่าง ๆ เช่น กลองยาว 
ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ โดยเฉพาะกลองยาวจะใช้หลายใบเพื่อเน้นจังหวะและความครึ้กครื้น สนุกสนาน

ฟ้อนผู้ไทยหรือภูไท 
          การฟ้อนผู้ไทยใช้จังหวะช้าเพื่อแสดงออกถึงความสวยงาม ความอ่อนช้อยละมุนละไม 
ช้ากว่าจังหวะเซิ้งซึ่งจัดเป็นประเภทรำอีกหนึ่งเท่าตัว กล่าวคือผู้ฟ้อนผู้ไทนก้าวไปหนึ่งก้าว 
เซิ้งจะรำไปได้สองก้าว หรือถ้าเปรียบเทียบกับจังหวะดนตรี ฟ้อนผู้ไทยก้าวเท้าตามโน๊ตตัวดำ 
เซิ้งก้าวเท้าตามจังหวะตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น

ดนตรีที่ใช้ประกอบ 
          เป็นวงดนตรีพื้นบ้านผสม ประกอบด้วยแคน ซอ และเครื่องจังหวะต่าง ๆ

แสกเต้นสาก 
          เต้นสากเป็นการรำกระทบไม้ แสกเต้นสาก หมายถึง การรำกระทบไม้ของชาวแสกและกระทำอยู่ในกลุ่มตน การเต้นสากเป็นการเต้นประกอบการร่ายรำตามจังหวะกระทบของไม้ไผ่หลายคู่ คนเต้น 4 คน คนกระทบเรียกว่าสากคู่ละ 2 คน
หากใช้ไม้สาก 6 คู่ ก็จะต้องใช้คนกระทบไม้จำนวน 12 คน คนตีกลองหนึ่งคน และตีฉิ่งอีกหนึ่งคน

ดนตรีที่ใช้ประกอบ 
          กลอง ฉิ่ง

ฟ้อนผีฟ้าหรือผีหมอ 
          ผีฟ้าหรือผีหมอเป็นความเชื่อของชาวพื้นเมืองอีสานเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ที่ต้องการที่ยึดที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ผู้ที่วิญญาณต้องการอยู่ด้วยมักเป็นญาติ และสามารถรู้ได้โดยที่ตนเองล้มป่วยลง เมื่อไปหาหมอทางไสยศาสตร์และพบว่าเป็นวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วอยากมาอยู่ด้วยการฟ้อนผีฟ้าหรือผีหมอ
เป็นการฟ้อนที่ไม่มีระเบียบแบบแผนหรือใช้หลักทางนาฏศิลป์แต่อย่างไร การเคลื่อนไหวเป็นไปตามจังหวะกลองและดนตรี

ดนตรีที่ใช้ประกอบ 
          แคน พิณ ฆ้อง ฉาบ กลอง บรรเลงประกอบไปด้วย

หนังตะลุงอีสาน 
          ในปี พ.ศ. 2467 มีหลักฐานว่าหนังตะลุงอีสานเลียนแบบจากหนังตะลุงคณะที่ไปจากพระนครศีรอยุธยา
เรียกได้หลายชื่อ เช่น หนังปราโมทัย หรือหนังบักตื้อ หนังบักป่อง เรื่องที่นิยมเล่นกันมาก 
คือ รามเกียรติ์ จำปาสี่ต้น นางแตงอ่อน ศิลป์ชัย ตัวหนังตะลุงจะเป็นของคนในภาคอีสาน ยกเว้นเรื่องรามเกียรติ์ การแสดงเป็นแบบหมอลำ ส่วนบทเจรจาใช้ภาษาท้องถิ่น

ดนตรีที่ใช้ประกอบ 
           พิณ แคน ซอ โหวด กลอง ฉาบ ฉิ่ง

ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้

 

อ้างอิงจาก http://student.nu.ac.th/thaimusicclub/