เครื่องดีด

•  กระจับปี่ 
     กระจับปี่ เป็น เครื่องดนตรี ประเภทดีด หรือ พิณ 4 สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกเป็นรูปกลมรีแบนทั้งหน้าหลัง มีความหนาประมาณ 7 ซม. ด้านหน้ายาวประมาณ 44 ซม. กว้างประมาณ 40 ซม. ทำคันทวนเรียวยาวประมาณ 138 ซม. ตอนปลายคันทวนมีลักษณะ แบน และบานปลายผายโค้งออกไป ถ้าวัดรวมทั้งคันทวนและตัว กะโหลก จะมีความยาวประมาณ 180 ซม. มีลูกบิดสำหรับขึ้นสาย 4 อัน มีนมรับนิ้ว 11 นมเท่ากับ จะเข้ ตรงด้านหน้ากะโหลกมีแผ่นไม้บางๆ ทำเป็นหย่องค้ำสายให้ตุงขึ้น เวลาบรรเลงใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ จับไม้ดีด เขี่ยสายให้เกิดเสียง 
     ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา มีกล่าวไว้ใน กฎมณเฑียรบาล ว่า “ ร้องเพลงเรือ เป่า ปี่ เป่า ขลุ่ย สี ซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ตีโทนทับ โห่ร้องนี่นั่น ” ต่อมาก็นำมาใช้เป็นเครื่องดีดประกอบการขับไม้ สำหรับบรรเลงใน พระราชพิธี แต่เนื่องจากกระจับปี่มีเสียงเบา และมีน้ำหนักมาก ผู้ดีดกระจับปี่จะต้องนั่งพับเพียบขวาแล้วเอาตัวกระจับปี่ วางบนหน้าขาข้างขวาของตน เพื่อทานน้ำหนัก มือซ้ายถือคันทวนมือ ขวาจับไม้ดีด เป็นที่ลำบากมาก อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ไม่ค่อยมีผู้นิยมเล่นกระจับปี่ ในปัจจุบันจึงหาผู้เล่นได้ยาก 
    กระจับปี่ สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจาก ภาษาชวา คำว่า กัจฉปิ ซึ่งคำว่า กัจฉปิ นั้นมีรากฐานของคำศัพท์ ในบาลีสันสกฤต คำว่า กัจฉปะ ที่แปลว่า เต่า เนื่องจากลักษณะของ กระจับปี่นั้น จะมีกะโหลกเป็นรูปกลมรีแบนทั้งหน้าหลัง ซึ่งมองแล้วคล้ายกับกระดองของเต่า จาก นิรัย พันแก่น และ ทับทิม สุกใส

•  จะเข้

    จะเข้ เป็น เครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจาก พิณ คือ กระจับปี่ ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ใน วงมโหรี คู่กับกระจับปี่ในสมัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย 
     ตัวจะเข้ทำเป็นสองตอน คือตอนหัวและตอนหาง โดยลักษณะทางตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ทำด้วยไม้แก่นขนุน หนาประมาณ 12 ซม. ยาวประมาณ 52 ซม. และกว้างประมาณ 11.5 ซม. ท่อนหัวและท่อนหางขุดเป็นโพรงตลอด รวมทั้งสิ้นมีความยาวประมาณ 130 – 132 ซม. ปิดใต้ทองด้วยแผ่นไม้ มีเท้ารองตอนหัว 4 เท้า และตอนปลายปางอีก 1 เท้า วัดจากปลายเท้าถึงตอนบนของตัวจะเข้ สูงประมาณ 19 ซม. ทำหลังนูนตรงกลางให้สองข้างลาดลง โยงสายจากตอนหัวไปทางตอนหางเป็น 3 สาย มีลูกบิดประจำสายละ 1 อัน สาย 1 ใช้เส้นลวดทองเหลือง อีก 2 สายใช้เส้นเอ็น มีหย่องรับสายอยู่ตรงปลายหางก่อนจะถึงลูกบิด ระหว่างตัวจะเข้มีแป้นไม้เรียกว่า นม รองรับสายติดไว้บนหลังจะเข้ รวมทั้งสิ้น 11 อัน เพื่อไว้เป็นที่สำหรับนิ้วกดนมแต่ละอันสูง เรียงลำดับขึ้นไป ตั้งแต่ 2 ซม. จนสูง 3.5 ซม. 
     เวลาบรรเลงใช้ดีดด้วยไม้ดีดกลมปลายแหลมทำด้วย งาช้าง หรือ กระดูกสัตว์ เคียนด้วยเส้นด้ายสำหรับพันติดกับปลายนิ้วชี้ข้างขวาของผู้ดีด และใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางช่วยจับให้มีกำลัง เวลาแกว่งมือส่ายไปมา ให้สัมพันธ์ กับมือข้างซ้ายขณะกดสายด้วย

สายของจะเข้

สายของจะเข้นั้นจะมีอยู่ 3 สาย ส่วนใหญ่ทำมาจากไหมหรือเอ็น สามารถแบ่งได้ดังนี้

ครูจะเข้ ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

     ดนตรีไทยนั้นมีการสืบทอดมา เป็นรุ่นสู่รุ่น และก็เช่นเดียวกับวิชาการด้านอื่นๆ นั่นคือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ จะเรียกว่า "คน" เครื่องดนตรีนั้นๆ เช่น สมชายเป็นคนซอด้วง ก็หมายความว่า นายสมชาย เป็นคนที่มีความถนัด หรือมีความเชี่ยวชาญในการเล่นเครื่องดนตรี ซอด้วงมากกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ ซึ่งในสมชายอาจจะสามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ เช่น เล่นซออู้, เล่นจะเข้ เป็นต้น ครูจะเข้ ก็ย่อมหมายถึง ครูที่เป็นคนจะเข้ คือเป็นผู้ที่มีความถนัด มีความรู้ความชำนาญในการเล่นจะเข้โดยเฉพาะ ซึ่งตั้งแต่อดีต อาจกล่าวย้อนไปถึงสมัยรัชกาลที่ 6 คือ "หลวงว่องจะเข้รับ" (โต กมลวาทิน)

•  ซึง

     ซึง เป็น เครื่องดนตรี ประเภทดีด มี 4 สาย แต่แบ่งออกเป็น 2 เส้น เส้นละ 2 สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม. กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม. ทั้งกะโหลกและคันทวนใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพานหรือนมรับนิ้ว จำนวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนทำเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอดลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง สำหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับ ปี่ซอ หรือ ปี่จุ่ม และ สะล้อ

แบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ ซึงเล็ก ซึ่งกลาง และซึงหลวง (ซึงที่มีขนาดใหญ่)

แบ่งตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ ซึงลูก 3 และซึงลูก 4 (แตกต่างกันที่เสียง ลูก 3 เสียงซอลจะอยู่ด้านล่าง ส่วนซึงลูก 4 เสียงซอลจะอยู่ด้านบน)

อธิบายคำว่า สะล้อ ซอ ซึง ที่มักจะพูดกันติดปาก ว่าเป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา แต่ที่จริงแล้ว มีแค่ ซึง และสะล้อ เท่านั้นที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา ส่วนคำว่า ซอในที่นี้ หมายถึง การขับซอ ซึ่งเป็นการร้อง การบรรยาย พรรณณาเป็นเรื่องราว ประกอบกับวงปี่จุ่ม


ภาพ 
ซึง

•  พิณเพียะ

      พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ เป็น เครื่องดนตรี พื้นเมือง ลานนา ชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ลักษณะของพิณเปี๊ยะมีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วย เหล็ก รูปหัวช้าง ทองเหลือง สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือก น้ำเต้า ตัดครึ่งหรือกะลา มะพร้าว ก็ได้ เวลาดีด ใช้กะโหลกประกบติดกับหน้าอก ขยับเปิดปิดให้เกิดเสียงตามต้องการ เช่นเดียวกับ พิณน้ำเต้า ของภาคกลาง ในสมัยก่อนชาวเหนือมักจะใช้พิณเปี๊ยะดีดคลอกับการขับลำนำในขณะที่ไปเที่ยวสาว พิณเปี๊ยะไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เล่่นยาก

•  พิณน้ำเต้า

     พิณ น้ำเต้า เป็น เครื่องดนตรี ประเภทดีด พิณน้ำเต้าเป็นพิณที่มีสายเดียว ทำมาจากผลของน้ำเต้าที่ถูกนำมาผ่าครึ่ง โดยทั่วไปแล้วผู้ดีดพิณน้ำเต้าจะต้องไม่สวมเสื้อ ซึ่งก็หมายความว่าผู้ที่ดีดส่วนมากจะเป็นผู้ชาย โดยผู้ดีดจะนำเอากะโหลกเสียง หรือ กะโหลกน้ำเต้าวางประกบแนบติดกับอกซ้าย มือซ้ายจะจับที่ทวน ส่วนมือขวาจะใช้ดีดพิณ 
      ผู้ดีดพิณน้ำเต้าที่มีความชำนาณในการเล่นจะขยับกะโหลกน้ำเต้าให้เปิด-ปิด อยู่ตรงหน้าอกข้างซ้ายในบางครั้งบางครา เพื่อให้เกิดเสียงที่ก้องกังวาน ตามความประสงค์ของผู้ที่ดีด แล้วใช้นิ้วซ้ายช่วยกด เพื่อให้สายตึงหรือหย่อน

•  ไหซอง

     ไหซอง เป็นเครื่อง ดนตรีไทย ภาคอีสาน ทำมาจากไห น้ำปลา หรือไห ปลาร้า ที่ไม่ใช้แล้ว ขึงด้วยยางหนังสติ๊กหรือยางอื่นๆ บริเวณปากไห จัดเป็นชุด ชุดละหลายใบ โดยมีขนาดลดหลั่นกัน บรรเลงโดยการดีดด้วยนิ้ว ให้เสียงทุ้มคล้าย กีตาร์เบส ทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงประกอบในวงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานหรือที่นิยมเรียกว่า วงโปงลาง       ปัจจุบันวงโปงลางส่วนใหญ่นิยมใช้ พิณเบส แทนการใช้ไหซอง เนื่องจากให้เสียงดังกว่าและสามารถบรรเลงพลิกแพลงได้มากกว่า จึงแทบไม่มีการดีดไหซองเพื่อการบรรเลงจริงๆแล้ว การดีดไหซองในปัจจุบันเป็นเพียงการแสดงลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำ นิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้ดีด เรียกว่า นางไห ใช้แสดงในงานรื่นเริงต่างๆ

กลับขึ้นด้านบน

อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/