เครื่องเป่า

•  ขลุ่ย 
         ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีโบราณของไทยชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดขึ้นก่อนหรือในสมัย กรุงสุโขทัย 
เป็นราชธานี ร่วมสมัยกับเครื่องดนตรีประเภท กลอง ฆ้อง กรับ พิณเพียะ แคน ขลุ่ย ปี่ ซอ และกระจับปี่ 
แต่มีหลักฐานชัดเจนปรากฏ ในกฎมนเฑียรบาลสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ( พ.ศ. 1991 - 2031 ) 
แห่งกรุงศรีอยุธยาว่าห้ามร้องเพลงหรือเป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีตะโพนในเขตพระราชฐาน
ก่อนที่จะมาเป็นขลุ่ยอย่างที่ปรากฏรูปร่างในปัจจุบัน ขลุ่ยได้ผ่านการวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน 
มาจากปี่อ้อซึ่งตัวปี่หรือเลาทำจากไม้รวกท่อนเดียวไม่มีข้อ และมีลิ้นซึ่งทำด้วยไม้อ้อลำเล็กสำหรับเป่าให้เกิดเสียง
หลังจากนั้นจึงปรับเปลี่ยนรูปร่าง และวิธีเป่าจนกลายมาเป็นขลุ่ยอย่างที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ว่าเป็นขลุ่ยเพียงออ

ประเภทของขลุ่ย

          คนไทยเป็นคนที่มีพรสวรรค์ทางศิลปะ จะเห็นได้ว่างานหัตถกรรมของไทยงดงามไม่แพ้ของชนชาติใดในโลก ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมจึงทำให้เรามีมรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่เป็นจำนวนมาก 
ขลุ่ยก็เช่นเดียวกัน นอกจากขลุ่ยเพียงออ ซึ่งสืบทอดคุณลักษณะและรูปร่างมาแต่โบราณแล้ว 
ต่อมาบรรพบุรุษของเรายังได้คิดค้น "ขลุ่ยหลีบ" ไว้สำหรับเล่นคู่กับขลุ่ยเพียงออ "ขลุ่ยอู้" 
ซึ่งคิดค้นขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ประกอบการละเล่นละครดึกดำบรรพ์ 
นอกจากนั้น ก็ยังมีขลุ่ยที่เรียกชื่ออย่างอื่นอีก เช่น ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยเคียงออ ขลุ่ยรองออ ขลุ่ยออร์แกน 
เพื่อให้เหมาะกับการที่จะไปเล่นผสมกับวงดนตรีประเภทต่างๆ

ปัจจุบันขลุ่ยที่ยังมีผู้นิยมเล่นมากที่สุด มี 3 ประเภท คือ

  1. ขลุ่ยเพียงออ
  2. ขลุ่ยหลีบ
  3. ขลุ่ยอู้

ขลุ่ยเพียงออ

          เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน 
สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ 2 นิ้ว 
สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียง
เกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการใตปากนกแก้วลงมาเจาะ 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ 
บางเลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู 4 รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้สำหรับร้อยเชือกแขวนเก็บ
หรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี 14 รูด้วยกัน รูปร่างของขลุ่ยเมือพิจารณาแล้วจะเป็นเครื่องดนตรี
ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จากหลักฐานที่พบขลุ่ยในหีบศพภรรยาเจ้าเมืองไทยที่ริมฝั่งแม่น้ำฮวงโห
ซึ่งมีหลักฐานจารึกศักราชไว้ไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี ปัจจุบันขลุ่ยมีราคาสูง เนื่องจากไม้รวกชนิดที่ทำขลุ่ยมีน้อยลง
และใช้เวลาทำมากจึงใช้วัตถุอื่นมาเจาะรูซึ่งรวดเร็วกว่า เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้ชิงชัน ไม้พยุง 
บางครั้งอาจทำจากท่อพลาสติกแต่คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าขลุ่ยไม้ ขลุ่ยที่มีเสียงไพเราะมากส่วนใหญ่จะเป็นขลุ่ยผิวไม้แห้งสนิท
ขลุ่ยใช้เป่าในวงเครื่องสายไทย วงมโหรี และในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ การเทียบเสียงขลุ่ยเพียงออ
กับระดับเสียงดนตรีสากล เสียงโดของขลุ่ยเพียงออ เทียบได้เท่ากับ เสียง ทีแฟล็ต ในระดับเสียงทางสากล ปัจจุบันได้มีการทำขลุ่ยเพียงออที่มีระดับเสียงเท่ากับระดับเสียงสากล เรียกว่าขลุ่ยเพียงออ ออร์แกนบ้าง
หรือขลุ่ยกรวดบ้าง แต่ในทางดนตรีสากลจะเรียกเป็นขลุ่ยไทยหมด จะเอาระดับเสียงมาเป็นตัวแยกขนาด
เช่น ขลุ่ยคีย์ C, ขลุ่ยคีย์ D, ขลุ่ยคีย์Bb, ขลุ่ยคีย์ G เป็นต้น เป็นขลุ่ยที่มีขนาดปานกลาง ความยาวประมาณ 16 นิ้ว
ระดับเสียงกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำเกินไป เป็นขลุ่ยที่มีผู้นิยมเล่นมากที่สุด นอกจากจะเป่าเพื่อความบันเทิงและความรื่นรมย์
เฉพาะตัวแล้ว ขลุ่ยเพียงออยังเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตาม (เช่นเดียวกับระนาดทุ้ม และ ซออู้) 
ตามประเพณีนิยมในวงเครื่องสาย และ วงมโหรี

ขลุ่ยหลีบ

          จัดเป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยทั้งหมด มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูง 
ใช้ในการบรรเลงในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายเครื่องคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด
หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้ 
เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุด ความยาวประมาณ 12 นิ้ว เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องนำ 
(เช่นเดียวกับระนาดเอก และ ซอด้วง) ในวงมโหรีและวงเครื่องสายเครื่องคู่ และใช้เป็นเครื่อง 
ตามในวงเครื่องสายปี่ชวาเมื่อปิดนิ้วหมดทุกนิ้ว เป่าแล้วจะได้เสียง "ฟา" สูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 4 เสียง

ขลุ่ยอู้

           เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ความยาวประมาณ 23 นิ้ว มีระดับเสียงต่ำสุดและเป็นขลุ่ยที่มีเสียงต่ำที่สุด
คือต่ำกว่าเสียงโดต่ำของขลุ่ยเพียงออ 2-3 เสียง และมีลักษณะพิเศษที่ต่างจากขลุ่ยเพียงออ และขลุ่ยหลีบ 
คือมีรูที่ทำให้เกิดเสียง 6 รู เมื่อปิดนิ้วทุกนิ้ว เป่าแล้วจะได้เสียง "ซอล" ต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 เสียงนิยมใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

 

•  แคน

          แคน เป็น เครื่องเป่า พื้นเมืองของชาว ลาว ที่ใช้ ไม้ซาง ขนาดต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน แคนเป็นสัญลักษณ์ของชาติพันธุ์ลาว ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน แคนเป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาด บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย

          ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้

ประเภทของแคน

แคนมีหลายประเภทตามจำนวนลูกแคน คือ

  1. แคน ฝังมุก มีลูกแคน 1 คู่ (2 ลูก) เป็นแคนที่ลำยาวที่สุด เวลาเป่าต้องอาศัยแรงมาก แตกยากแข็งแรง แคนชนิดนี้นิยมในหมู่วัยรุ่น และบรรเลงกันเป็นหมู่คณะ และเป็นที่นิยมในการละเล่นพื้นบ้าน
  2. แคนหก มีลูกแคน 3 คู่ (6 ลูก) เป็นแคนขนาดเล็กที่สุด สำหรับเด็กหรือผู้เริ่มฝึกหัดใช้เป่าเพลงง่าย ๆ เพราะเสียงไม่ครบ
  3. แคนเจ็ด มีลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก) เป็นแคนขนาดกลาง มีเสียงครบ 7 เสียง ตามระบบสากล และมีระดับเสียงสูง ต่ำ ทั้ง 7 เสียง หรือที่เรียกว่า คู่แปด คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที (คู่แปด คือทุกเสียงเช่นเสียงโด ก็จะมีทั้งเสียงโดสูง และโดต่ำ ทุกเสียงมีคู่เสียงทั้งหมด)
  4. แคนแปด ใหญ่กว่าแคนเจ็ด มีลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เพิ่มคู่เสียงระดับสูงขึ้นไปให้เป็นเสียงประสานในการเล่นเพลงพื้นเมือง
  5. แคนเก้า มีลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก) ใหญ่ที่สุด เวลาเป่าต้องใช้ลมมากจึงไม่ค่อยมีคนนิยม ในเรื่องระดับเสียงของแคนเหมือนระบบเสียงดนตรีสากลนั้น เป็นเรื่องน่าสนใจ น่าที่จะได้ศึกษากันต่อไปว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ในขณะที่ ดนตรีไทย ไม่มีขั้นครึ่งเสียง และเพลงพื้นเมืองอีสานใช้เพียง 5 ขั้น คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียงฟา และ ที

          แคนนอกจากบรรเลงเป็นวงแล้ว ก็ยังใช้บรรเลงประกอบการลำ (การขับร้อง) หรือใช้บรรเลงร่วมกับ พิณ โปงลาง ฯลฯ


ภาพแคน

•  ปี่

          ปี่ เป็น เครื่องดนตรีไทย ทำด้วยไม้จริงเช่นไม้ชิงชันหรือไม้พยุง กลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ตรงกลางป่อง เจาะภายในให้กลวงตลอดเลา ทางหัวของปี่เป็นช่องรูเล็กส่วนทาง ปลายของปี่ ปากรูใหญ่ใช้ชันหรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมขึ้นอีกราวข้างละ ครึ่งซม ส่วนหัวเรียก ทวนบน ส่วนท้ายเรียกทวนล่าง ตอนกลางของปี่ เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน 6 รู แต่สามารถเป่าได้เสียงตรง 24 เสียง กับเสียงควงหรือเสียงแทนอีก 8 เสียง รวมเป็น 32 เสียง รูตอนบนเจาะเรียงลงมา 4 รู เว้นระยะห่างเล็กน้อย เจาะรูล่างอีก 2 รู ตรงกลางของเลาปี่ กลึงขวั้นเป็นเกลียวคู่ไว้เป็นจำนวน 14 คู่ เพื่อความสวยงามและกันลื่นอีกด้วย ตรงทวนบนนั้นใส่ลิ้นปี่ที่ทำด้วยใบตาลซ้อนกัน 4 ชั้น ตัดให้กลมแล้วนำไปผูกติดกับท่อลมเล็กๆที่ เรียกว่า กำพวด เรียวยาวประมาณ 5 ซม. กำพวดนี้ทำด้วย ทองเหลือง เงิน นาก หรือโลหะอย่างอื่นวิธีผูกเชือกเพื่อ ให้ใบตาลติดกับกำพวดนั้น ใช้วิธีผูกที่เรียกว่า ผูกตะกรุดเบ็ด ส่วนของกำพวดที่จะต้องสอดเข้าไปเลาปี่นั้นเขาใช้ถักหรือเคียน ด้วยเส้นด้าย สอดเข้าไปในเลาปี่ให้พอมิดที่พันด้ายจะทำให้เกิดความแน่นกระชับยิ่งขึ้น

ปี่ของไทยจัดได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่

  1. ปี่นอก มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 31 ซม. กว้าง 3.5 ซม. เป็นปี่ที่ใช้กันมาแต่เดิม เสียงของปี่นอกจะมีเสียงที่เล็กแหลม
  2. ปี่กลาง มีขนาดกลาง ยาวประมาณ 37 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม. สำหรับเล่นประกอบการแสดงหนังใหญ่ มีสำเนียงเสียงอยู่ระหว่าง ปี่นอก กับปี่ใน เสียงของปี่กลางจะ ไม่แหลมหรือว่าต่ำเกินไปแต่จะอยู่ในระดับปานกลาง
  3. ปี่ใน มีขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 41 – 42 ซม. กว้างประมาณ 4.5 ซม. เป็นปี่ที่ พระอภัยมณี ใช้สำหรับเป่าให้ นางผีเสื้อสมุทร (ใน วรรณกรรม ของ สุนทรภู่ ) ขาดใจตายนั่นเอง โดยเสียงของปีในจะเป็นเสียงที่ต่ำ และเสียงใหญ่

 

•  โหวด

          โหวด เป็นเครื่อง ดนตรีไทย ภาคอีสาน ประเภทเครื่องเป่า มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ทำจากไม้กู่แคนซึ่งเป็นไม้ซางชนิดเดียวกับที่ใช้ทำ แคน มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรี กรีกโบราณ ที่เรียกว่า " Pan Pipe "

โหวดเป็นเครื่องดนตรีประจำ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้คิดค้นพัฒนาให้โหวดมีลักษณะแบบที่เห็นในปัจจุบันคือ นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กลับขึ้นด้านบน

อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/