http://www.krusanti.org/Anime/47d0e9f151ffe.gif ประโยชน์ของดนตรี http://www.krusanti.org/Anime/47d0e9f246826.gif

ประโยชน์ทั่วไป

     1. เสียงดนตรีเป็นสิ่งที่กล่อมหัวใจของคนให้อ่อนโยน เยือกเย็นดับทุกข์ได้ชั่วขณะ ปลุกใจให้รื่นเริงกล้าหาญ สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิด แก่บุคคลผู้ฟังทั่วๆไป 
     2. เป็นเครื่องที่ทำให้โลกครึกครื้น 
     3. การแสดงมหรสพต่างๆ เป็นต้นว่า โขนละคร ดนตรีก็เป็นผู้ประกอบให้น่าดูสนุกสนานขึ้นสมอารมณ์ผู้ดูและผู้แสดง 
     4. ทำความสมบูรณ์ให้แก่ฤกษ์และพิธีต่างๆ ทั้งของประชาชนและของชาติ 
     5. เป็นเครื่องประกอบในการสงคราม ซึ่งเคยใช้ได้ผลมาแล้วหลายชาติ โดยเฉพาะชาติไทยคราวสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลก เมื่อยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรีทรงรักษาเมืองพิษณุโลกต่อสู้ อะแซหวุ่นกี้ ก็ได้ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องประกอบอุบาย เป็นต้น 
     6. ทำให้โลกเห็นว่าชาติไทยมีวัฒนธรรมเป็นอันดี ชาติใดที่มีวัฒนธรรมของตนอยู่อย่างดีย่อมเป็นที่ยกย่องของชาติทั้งหลาย

ประโยชน์เฉพาะผู้บรรเลง

     1. ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ทั่วไปดังกล่าวมาแล้ว 
     2. เป็นอาชีพในทางที่ชอบอันหนึ่ง 
     3. เป็นผู้รักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ 
     4. จะเป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุมกว่าปกติ 
     5. มีเครื่องกล่อมตนเองเมื่อยามทุกข์ ปลุกตนเองเมื่อยามเหงา 
     6. เป็นเครื่องฝึกสมองอยู่ในตัว 
     7. จะเป็นผู้มีเกียรติยศชื่อเสียงปรากฏแก่โลก 
     8. ทำการสมาคมให้กว้างขวางได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ชั้นต่ำจนถึงชั้นสูงสุด

 

ดนตรีดีต่อเด็กอย่างไร ?

     1. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย

          เราจะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อเด็กได้ยินเสียงดนตรีที่มีทำนองและจังหวะที่สนุก เด็กก็จะกระโดดโลดเต้น เคลื่อนไหวร่างกาย ตามเสียงดนตรีอย่างมีความสุขสนุกสนาน ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กๆมีร่างกายแข็งแรงเพราะได้บริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนร่างกาย เช่น แขน ขา นิ้วมือ คอ ไหล่

     2. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจ

          อารมณ์ความรู้สึกของคน มีขึ้นมีลงคล้ายท่วงทำนองของเสียงดนตรี ดนตรีที่มีจังหวะช้าจะทำให้เด็กมีอารมณ์ผ่อนคลาย สงบ มีสมาธิ และช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยน ในขณะที่ดนตรีที่มีจังหวะเร็ว จะทำให้เด็กๆมีอารมณ์แจ่มใส และมีจิตใจที่เบิกบาน

     3. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสังคม

       - กิจกรรมดนตรีแบบกลุ่ม คือการที่เด็กๆได้ทำกิจกรรมดนตรีร่วมกับผู้อื่น เช่น การร้องเพลง เต้นระบำ รำละคร หรือ การตั้งวงดนตรี เล่นกับคุณพ่อคุณแม่พี่ๆน้องๆในบ้านหรือกับเพื่อนๆที่โรงเรียน เป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กๆได้ รู้จักการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น

       - กิจกรรมดนตรีแบบเดี่ยว เช่น การเล่นดนตรี การร้องเพลง หรือการเต้นระบำรำฟ้อนคนเดียวต่อหน้าคนอื่น ช่วย พัฒนาบุคลิกภาพและสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงความสามารถ ให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง ( self-esteem) และตระหนักถึงคุณค่า ของตัวเอง ( Ego Asset)

      4. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญา

      - ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่นเมื่อเด็กได้ฟังหรือร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของจำนวน และ การนับ หรือการที่เด็กได้หัดอ่านโน้ตดนตรี

      - ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่นเมื่อเด็กได้ร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติจากเนื้อเพลงที่ เกี่ยวกับสัตว์ ต้นไม้ รุ้งกินน้ำ พระจันทร์ ดวงดาว

      - ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางด้านภาษา เช่น เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศผ่านทาง เนื้อเพลง

     - ดนตรีช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เช่นเมื่อเด็กๆฟังเพลงแล้วคิดท่าเต้นแบบต่างๆได้ด้วยตนเอง หรือแปลงกาย เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ การที่เด็กได้คิดค้นวิธีเล่นเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ หรือการที่เด็กแต่งเนื้อเพลงหรือทำนองเพลง ด้วยตัวของเขาเอง

          ดนตรีเหมือนขนมของหนูๆที่กินแล้วทั้งสนุก แถมได้รสชาติที่แสนอร่อย และยังเป็นขนมที่มีความพิเศษคือมีประโยชน์แก่ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ สังคมและสติปัญญาของหนูๆอีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่อย่ารอช้า ไปเลือกหาดนตรีขนมอร่อยจานนี้ให้กับพวกเขากันดีกว่า เอ๊ะหรือว่าจะร่วมกันปรุง ร่วมกันแต่งขึ้นมากับพวกหนูๆของเราก็ได้นะ ไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ( ^_^)

 

สรุปประโยชน์ของเสียงดนตรี

     •  พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 
     •  พัฒนาด้านอารมณ์ 
     •  พัฒนาด้านภาษา 
     •  พัฒนาด้านร่างกาย 
     •  พัฒนาด้านปัญญา 
     •  พัฒนาด้านความเป็นเอกบุคคล 
     •  พัฒนาด้านสุนทรีย์

 

หนังสืออ่านเพิ่ม

•  Colles, Henry Cope ( 1978). The Growth of Music : A Study in Musical History , 4 th ed., London ; New York : Oxford University Press. ISBN 0-19-316116-8 1913 edition online at Google Books )

•  Harwood, Dane ( 1976). " Universals in Music: A Perspective from Cognitive Psychology".Ethnomusicology 20 (ฉบับที่ 3): 521 – 33. doi 

10.2307/851047 .

•  Small, Christopher ( 1977). Music, Society, Education . John Calder Publishers, London. ISBN 0-7145-3614-8

 

 

อ้างอิงจาก  http://www.oknation.net/blog/x-vista
                  http://th.wikipedia.org/