MAIN MENU
หน้าแรก
ในหลวงของเรา
สาระความรู้เกี่ยวกับดนตรี
ดนตรีสากล
ดนตรีไทย
ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
ผลงานที่รับผิดชอบและภาคภูมิใจ
กิจกรรมวงดนตรีสากล
กิจกรรมวงดนตรีพื้นบ้าน
กิจกรรมวงดุริยางค์
กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ
VDO & Multimedia
VDO เฉลิมพระเกียรติ
VDO วงดนตรีสากล
VDO น่าสนใจ
กฎหมายที่จำเป็นต้องรู้
บทความน่าสนใจ
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
สอนลูกให้เป็นคนดี
เคล็ด (ไม่) ลับ
Link น่าสนใจ
IP ที่ท่านใช้ในขณะนี้
ขอบคุณที่เยี่ยมชม
สาระน่ารู้
     ความเป็นมาของดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน      โน้ตลายเพลงวงโปงลาง      เพลงวงโปงลาง

 

นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานใต้

การจเรียง

           จเรียงในภาษาเขมรเป็นคำกิริยา แปลว่า ขับร้อง ถ้าเป็นคำนามใช้คำว่าจำเรียง การเล่นจเรียงมีลักษณะคล้ายคลึงกับการเล่นหมอลำหรือการเล่นเพลงโคราช จเรียงอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามลักษณะชิ่อของจเรียงคือ จเรียงที่มีชื่อตามชื่อของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประสานเสียง จเรียงที่มีชื่อตามลักษณะของเพลงที่ใช้ขับร้อง และจเรียงที่มีชื่อเรียกตามลักษณะงานประเพณี จเรียงแต่ละประเภทแบ่งออกได้ดังนี้

           1. จเรียงที่มีชื่อเรียกตามเครื่องดนตรี
                1.1 จเรียงตรัว จเรียงที่ใช้ซอประกอบ
                1.2 จเรียงจเปย จเรียงที่ใช้กระจับปี่ประกอบ
                1.3 จเรียงจรวง จเรียงที่ใช้ปี่จรวงประกอบแต่บางท่านก็ว่าใช้ปี่อังโกล-ปี่เขาควายประกอบ

           2. จเรียงที่เรียกชื่อตามลักษณะของเพลง
                2.1 จเรียงกันตรบไก เป็นการการขับร้องคนเดียวหรือเป็นการโต้ตอบของหมอจเรียงชาย-หญิง ไม่ใช้เครื่องดนตรีประกอบ
                2.2 จเรียงนอระแกว เป็นการร้องโต้ตอบระหว่างชาย หญิง มีพ่อเพลง แม่เพลงและลูกคู่ บทร้องจบด้วย “ นอระแกว ”
                2.3 จเรียงปังนา เป็นการขับร้องคล้ายกับจเรียงนอระแกว แต่มีจังหวะเร็วกว่า มีสร้อยแทรกและจบด้วย “ ปังนา ”
                2.4 จเรียงไปยอังโกง เป็นการเกี้ยวพาราสี ใช้ปี่อ้อประกอบ
                2.5 จเรียงอาไย เป็นการเล่นเบ็ดเตล็ดอย่างหนึ่ง ประกอบการเล่นมโหรี โดยมากเป็นการร้องเกี้ยวพาราสี
                2.6 จเรียงเบริน เป็นการขับร้องโต้ตอบระหว่างชาย-หญิง โดยใช้แคนเป่า ประสานเสียงอย่างเดียวกับหมอลำ

           3. จเรียงที่มีชื่อเรียกตามงานประเพณี
                3.1 จเรียงตรด เป็นจเรียงในเทศกาลตรุษสงกรานต์ เพื่อขอรับบริจาคจตุปัจจัยจากครอบครัวต่าง ๆ แล้วนำไปถวายวัด
                3.2 จเรียงซันตูจ (จเรียงตกเบ็ด) เป็นการขับร้องในงานเทศกาลต่ง ๆ ของพวกคนหนุ่ม เพื่อเกี่ยวสาวโดยใช้คันเบ็ดที่มีเหยื่อเป็นผลไม้ หรือขนมต่าง ๆ เป็นเหยื่อล่อสาว หากสาวคนใดรับขนมนั้นก็แสดงว่ารับรักชายที่หย่อนเบ็ดลงมา

เรือมลูดอันเร ( รำกระทบสาก)

           เรือมอันเรเป็นศิลปะทางด้านดนตรีนาฏศิลป์ที่มีชื่อเสียงของชาวสุรินทร์ ซึ่งเป็นแหล่งกลางทางดนตรีนาฏศิลป์ในแถบอีสานใต้ ในงานแสดงของช้างประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ จะต้องมีการเรือมลูดอันเร ซึ่งเป็นศิลปะของท้องถิ่นให้ผู้ที่ไปเที่ยวชมได้ชมกัน

โอกาสที่แสดง
           แต่เดิมการเล่นเรือมลูดอันเรเล่นกันเฉพาะในเดือน 5 หรือแคแจตรเท่านั้น โดยหนุ่มสาวจะมาร่วมกันเล่นเรือมลูดอันเร เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงประจำปี โดยเล่นกันที่ใต้ร่มมะพร้าวที่ลานหน้าบ้าน แต่ปัจจุบันได้มีการนำไปเล่นในงานสำคัญ ๆ ที่ออกหน้าออกตา เช่น งานช้างประจำจังหวัดสุรินทร์

ลักษณะการเล่น
           หนุ่มสาวจะนำสากมา 2 คู่ แล้ววางเป็นคู่ไขวกันมีคนจับปลายสาก 2 คน ซึ่งจะเป็นผู้กระทบสากไปตามจังหวะเพลง ผู้รำคือ ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะรำเป็นคู่ ๆ

เครื่องดนตรี
           1. สากไม้ทำด้วยไม้แก่นกลม 2 คู่
           2. ปี่อ้อ 1 เลา ( ปัจจุบันนิยมใช้สไลแทน)
           3. ซอตรัวเอก (ซออู้กลาง) 1 คัด
           4. กรับ ฉิ่ง ประกอบจังหวะ และมีการขับร้องประกอบเข้าไปกับการบรรเลงดนตรีด้วย

 

กะโน้บติงต็อง ( ระบำตั๊กแตนตำข้าว )

            กะโน้บติงต็อง เป็นภาษพื้นเมืองของชางอีสาน แปลว่า ตั๊กแตนตำข้าว ระบำตั๊กแตนตำข้าวนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในแถบอีสานใต้ แหล่งกำเนิดกะโน้บติงต็องคือ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของดนตรีและนาฏศิลป์ของแถบอีสานใต้ ระบำตั๊กแตนเป็นการรำที่สนุกสนานเร้าอารมณ์ การเต้นโยกไปโยกมาเป็นการเลียนแบบตั๊กแตนตำข้าว การเต้นรำกะโน้บติงต็องมีการรำเป็นหมู่

ลักษณะการเล่น
            ผู้เล่นจะแบ่งเป็นฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง สมมุติเป็นตั๊กแตนตัวผู้และตั๊กแตนตัวเมีย เสื้อกางเกงเป็นชุดติดกัน สำหรับตั๊กแตนตัวเมีญจะมีกระโปรงสวมทับไปอีกชั้น ระบำตั๊กแตนจะรำเป็นคู่ ๆ มีท่ารำสลับเปลี่ยนกันไป

เครื่องดนตรี
           1. กลองกันตรึม 2 ลูก ( อาจใช้กลองทัดหรือตะโพนแทนก็ได้ )
           2. ปี่สไล 1 เลา
           3. ซอตนัวเอก 1 คัน ( ซออู้ขนาดกลาง )
           4. เครื่องกำกับจังหวะ คือ ฉิ่ง กรับ

ลิเกอีสานใต้

           ลิเกอีสานใต้มีอยู่น้อยมาก เพราะไม่ใคร่ได้รับความนิยม อีกประการหนึ่งผู้เล่นเล่นยาก ไม่มีใครถนัด ลิเกอีสานใต้จะใช้บทร้องและบทเจรจาด้วยภาษาเขมรสูง ( ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครสืบทอดทำให้การเล่นอย่างนี้ มีแต่จะสูญไปตามการเวลาและตามความเจริญสมัยใหม่ )

ลักษณะการเล่น
           ดำเนินเรื่องคล้ายกับลิเกของไทย คือ ก่อนการแสดงจะมีการขับร้องรำลึกถึงครูบาอาจารย์
เทวดาอารักษ์ต่าง ๆ ต่อมาก็มีการปล่อยลิงออกโรง คือ คนที่แสดงตัวเป็นลิงออกมาเต้น ต่อมาก็มีรำเบิกโรงก่อนจะมีการแสดงเป็นเรื่องเป็นราว การแสดงก็มีทั้งบทร้องและบทเจรจา

เครื่องดนตรี
           1. ปี่สไลชนิดใหญ่ที่สุด
           2. กลองรำมะนา 2 ใบ
           3. ซออู้ 1 คัน

อาไย

           อาไยเป็นการเล่นเบ็ดเตร็ดอย่างหนึ่งของชาวชนบทแถบอีสานใต้ การละเล่นแบบนี้สืบทราบได้ว่ารับมาจากกัมพูชา เพราะแต่เดิมทีชาวไทยและกัมพูชามีสัมพันธไมตรีกันดี ชาวไทยแถบสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ได้ไปเที่ยวค้าขายกับชาวกัมพูชา และได้รับการละเล่นมา

ลักษณะการเล่น
           การเล่นอาไย มีลักษณะการเล่นแบบลำตัดและอีแซวของภาคกลาง เป็นบทโต้ตอบที่ต้องใช้ปฏิภาณระหว่างชชายหนุ่มกับหญิงสาว บทที่ร้องเป็นบทปฏิพากย์ในเชิงเกี้ยวพาราสี บรรดาหนุ่มสาวนิยมเล่นเมื่อมีงานประเพณีต่าง ๆ

เครื่องดนตรี
           1. ปี่สไล 1 เลา
           2. ซอตรัวเอก 1 คัน
           3. กลองกันตรึม 2 ลูก
           4. ขลุ่ย 1 เลา
           5. เครื่องกำกับจังหวะ คือ กรับ ฉิ่ง

เรือมตรษ ( รำตรุษสงกรานต์ )

           การรำตรมเป็นการละเล่นพื้นบ้านอีสานใต้ ที่มีการเล่นกันเป็นพื้นทุก ๆ ปีโดยเฉพาะในวันตรุษสงกรานต์ การรำตรดไม่สามารถสืบสาวประวัติได้ว่าเริ่มกันมาตั้งแต่เมื่อไร การเล่นนี้มีการสืบทอดกันมาแต่โบราณ การรำตรดเพื่อความสนุกสนานแล้วยังถือว่าได้บุญกุศลด้วย เพราะจะมีการรำไปทุกบ้านทุกหลังคาเรือน เจ้าของบ้านจะนำจัตุปัจจัยเครื่องไทยทานต่าง ๆ มอบให้แก่หัวหน้าผู้รำตรด เพื่อจะได้นำไปมอบให้แก่วัดด้วย

ลักษณะการเล่น
           ผู้เป็นหัวหน้าหรือประธานในการเล่นรำตรดจะรวบรวมสมาชิกในหมู่บ้าน ตั้งเป็นวงรำตรดขึ้นและพาลูกน้องไปรำที่ลานหน้าบ้านไปทั่ว ๆ จนครบทุกหลังคาเรือน

เครื่องดนตรี
           1. กลองกันตรึม 2 ลูก
           2. แคน
           3. ขลุ่ย
           4. เครื่องกำกับจังหวะ อาจมีกรับหรือคันขัวร

โจลมาม็วด ( การทรงเจ้าเข้าผี )

           โจลมาม็วดเป็นพิธีกรรมในการทรงเจ้าเข้าผี เป็นความเชื่อมาแต่โบราณ ที่ว่าผู้ใดเป็นไข้ได้ป่วยไม่สบายใจด้วยประการใดประการหนึ่งก็ตาม เป็นเพราะเจ้าที่เจ้าทาง ผีสางเทวดาบันดาลให้เป็นไป วิธีปัดรังควานได้นั้นต้องใช้วิธีโจลมาม็วด โดยมีคนเข้าทรงเรียกว่า มาม็วด

เครื่องดนตรี
           1. กลองกันตรึม 2 ลูก อาจใช้ตะโพนแทนก็ได้
           2. ปี่อ้อ 1 เลา อาจใช้ปี่สไลแทนก็ได้
           3. ซอตรัวเอก 1 คัน
           จากที่เราได้กล่าวถึงวัฒนธรรมและการละเล่น ทั้งภาคอีสานเหนือและภาคอีสานใต้ไปแล้วนั้น ในภาคอีสานนั้นยังมีอีกกลุ่มวัฒนธรรมหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง

กลุ่มวัฒนธรรมโคราช

 
           
เวบไซต์ : สุนทรียภาพแห่งดนตรี เพื่อชีวีเป็นสุข : นี้ จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น
มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น หากข้อมูลหรือบทความใดๆ ไม่ถูกต้อง
กรุณาแจ้ง Webmaster เพื่อทำการแก้ไข จักเป็นพระคุณยิ่ง และกรุณาอย่านำข้อมูลในเวบไซต์นี้ไปใช้เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น

Webmaster : นายสันติ เที่ยงผดุง ตำแหน่ง ครู
โรงเรียนบ้านหนองแวงโสกพระ ต.หนองแวงโสกพระ อ.พล จ.ขอนแก่น
E-Mail : santi.t@obec.go.th, hs3ryg@gmail.com, Facebook : http://www.facebook.com/hs3ryg