MAIN MENU
หน้าแรก
ในหลวงของเรา
สาระความรู้เกี่ยวกับดนตรี
ดนตรีสากล
ดนตรีไทย
ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
ผลงานที่รับผิดชอบและภาคภูมิใจ
กิจกรรมวงดนตรีสากล
กิจกรรมวงดนตรีพื้นบ้าน
กิจกรรมวงดุริยางค์
กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ
VDO & Multimedia
VDO เฉลิมพระเกียรติ
VDO วงดนตรีสากล
VDO น่าสนใจ
กฎหมายที่จำเป็นต้องรู้
บทความน่าสนใจ
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
สอนลูกให้เป็นคนดี
เคล็ด (ไม่) ลับ
Link น่าสนใจ
IP ที่ท่านใช้ในขณะนี้
ขอบคุณที่เยี่ยมชม
สาระน่ารู้
ทำอย่างไรให้ลูกรักเป็นเด็กดี
ทำอย่างไรให้ลูกรักเป็นเด็กดี
การเรียนเก่งมิใช่หนทางของการเป็นเด็กดีนะจะบอกให้

ขอให้คุณแม่ทั้งหลายยอมรับความเป็นจริงขั้นพื้นฐานไว้ประการหนึ่งว่า เด็กไม่สามารถเรียนดีทุกวิชาได้ทุกคนไป หรือเด็กบางคนอาจเรียนวิชาหลักไม่ได้เลยสักวิชา แต่เขามีความสามารถพิเศษ (talent) ทางดนตรี
หรือศิลปะอย่างอื่น
ฉะนั้น ถ้าลูกรักของท่านสอบตก ก็อย่าเพิ่งด่วนโกรธ ดุว่าหรือสิ้นหวัง จงพยายามเข้าใจเขาหยั่งความสามารถ และหาสาเหตุด้วยอารมณ์หนักแน่นและมีเหตุผล
ผู้เขียนเห็นว่าปัญหาที่สำคัญกว่าและเป็นหน้าที่สำคัญสุดของผู้เป็นแม่คือ จะเลี้ยงลูกอย่างไรเพื่อให้เขามีความสุขเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่บุคลิกภาพสมบูรณ์เพื่ออยู่ในสังคมอย่างที่ใครๆ
ชื่นชอบและต้อนรับ ท่านอาจเคยเห็นหรือเคยทราบว่า นักเรียนเหรียญทอง หรือบัณฑิตเกียรตินิยมบางคน
เข้ากับใครไม่ได้ เพราะมนุษยสัมพันธ์ และบุคลิกภาพที่บกพร่อง เข้าทำนอง "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" แต่ท่านก็คงเคยพบนักเรียนหลายคนที่ไม่เคยมีชื่อเสียงในการเรียนเลย ที่ออกไปทำประโยชน์ให้สังคม
และประเทศชาติจนมีชื่อเสียงเช่นกัน
ท่านอยากให้ลูกเป็นบุคคลประเภทไหน ?
ถ้าอยากได้อย่างแรก ก็จงเร่งรัด ผลักดัน และเคี่ยวเข็ญเข้าไปเถิด ถ้าอยากได้ลูกประเภทหลังก็อย่าทำเช่นนั้นเลย แต่จงหยั่งสติปัญญาความสามารถของเขาโดยปรึกษาครูประจำชั้นเพื่อทราบว่าลูกรักของท่านสนใจ
และมีความสามารถในวิชาใดแล้วสนับสนุนวิชานั้นๆ เป็นพิเศษ


อย่าใช้ความทะเยอทะยานของท่านฝ่ายเดียว บีบบังคับหรือ "ปั้น" ลูกเลย เพราะนอกจากจะไม่ทำให้เกิดผล
สมความมุ่งหวังแล้ว ยังอาจทำลายอนาคตของลูกด้วย เด็กทุกคนไม่ได้เกิดมาฉลาดเท่ากัน
อย่าเอาลูกของท่านไปเปรียบกับลูกของคนอื่น ไม่มีวิธีใดทำให้เด็กทุกคนฉลาดได้หมด
แต่มีวิธีหนึ่งที่ทำให้เด็กทุกคนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข มีบุคลิกภาพสมบูรณ์
และเป็นที่ยอมรับของสังคม (Socially Accepted) วิธีนั้นคือ การเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพจิตดี
ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของพ่อแม่ทุกคน ในวิชาจิตเวชศาสตร์เด็ก (Child Psychistry)
จึงถือว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร (Parent Child Relationship)
เป็นหัวใจของการป้องกันและรักษาความผิดปกติทางจิตเวช (Psychiatric Disorders)

การเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพบริบูรณ์ (well-integrated personality)
ต้องการสิ่งต่อไปนี้อย่างเพียงพอ คือ

1. ความรักความอบอุ่น (affection)

2. ความเข้าใจ (understanding)

3. ความมั่นคงทางใจ (security)

4. ระเบียบวินัย (discipline)

5. ความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับของสังคม (achievenment and social acceptance)

และผู้ที่จะให้เขาเป็นคนแรกก็คือ แม่นั่นเอง ท่านได้ให้เขาเพียงพอแล้วหรือยัง
ขอย้อนกลับไปกล่าวถึงเรื่องที่คุณแม่ทั้งหลายสนใจ คือ เรื่องการเรียนของลูกดังได้ชี้แจ้งแล้วว่า
เด็กไม่อาจเรียนดีได้ทุกคน แต่ถ้าลูกของท่านเรียนไม่ดี ควรพิจารณาอุปสรรคต่อการเรียนของเด็ก
ซึ่งมีมากมาย แต่พอสรุปรวมได้เป็น 3 สาเหตุใหญ่ดังนี้

1. สุขภาพทางกายไม่ดี
เด็กบางคนเป็นไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบบ่อยๆ โลหิตจาง สายตาผิดปกติ
หรืออาจมีโรคทางกายเรื้อรังอย่างอื่นแอบแฝงอยู่ ทำให้ขาดเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน
หรือทำให้สมาธิในการเรียนต่ำลง จึงควรให้แพทย์ตรวจหาความผิดปกติทางกายเหล่านี้เพื่อรีบรักษาเสีย


2. ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าปกติ
ส่วนมากเด็กที่ระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.) ต่ำมักเจริญเติบโตช้า เช่น พูดช้า เดินช้า และเรียนรู้ช้า
เรียนได้เฉพาะชั้นต้นๆ ถ้าประมาณอย่างหยาบๆ เด้กที่เชาวน์ปัญญาระดับ Moron
จะเรียนได้ไม่เกินชั้นประถมปีที่ 7 แต่อย่างลืมว่าเด็กที่ระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ก็อาจด้อยความสามารถเฉพาะทาง เช่น ด้อยทางภาษา หรือด้อยทางคำนวณ
ไม่ควรลืมว่ากรรมพันธุ์มีอิทธิพลต่อระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กด้วย ถ้าคุณแม่เองเคยสอบได้ที่โหล่
ก็ไม่น่าหวังให้ลูกสอบได้ที่หนึ่ง แต่ก็มิได้หมายความว่า ลูกซึ่งมีแม่ที่เคยสอบได้ที่โหล่จะต้อง
สอบได้ที่โหล่เสมอไป
ในแง่สิ่งแวดล้อม ได้มีการศึกษาในต่างประเทศปรากฏว่า เด็กที่พ่อแม่มีการศึกษาสูง
และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเสริมประสบการณ์ จะฉลาดกว่าเด็กพวกตรงกันข้ามไม่มากก็น้อย จึงควรสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาของลูกโดยวิธีต่อไปนี้คือ

2.1 จัดหาอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกในการศึกษาตามควรแก่ฐานะของพ่อแม่
เช่น จัดหาโต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ตู้ หรือชั้นสำหรับเก็บหนังสือ เครื่องเล่นเพื่อการศึกษา (educationaltoys) ฯลฯ จัดหาหนังสือที่ให้ความรู้และความเพลิดเพลินนอกจากตำราเรียนให้เพื่อช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
และการใฝ่หาความรู้
2.2 พาไปทัศนาจรสถานที่ต่างๆ และร่วมงานสังคมตามโอกาสและวัยอันสมควรสำหรับเด็ก
เพื่อเพิ่มพูนความรู้รอบตัว ประสบการณ์ และเพื่อฝึกการปรับตัวให้เข้ากับสังคม
เมื่อพาไปสวนสัตว์ก็มิใช่สักแต่ว่าเดินดูทั่วแล้วกก็กลับ ควรถือโอกาสสอดแทรกความรู้เรื่องสัตว์ต่างๆ
และปลูกฝังความรัก และเมตตาสัตว์ไปในตัวเมื่อพาไปทะเลก็อาจแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์
และความรักธรรมชาติ โดยไม่ทำให้เด็กเบื่อหน่ายเหมือนเรียนวิทยาศาสตร์หรือภูมิศาสตร์อย่างจริงจัง
ในชั้นเรียนเลย เช่น คุณพ่ออาจให้ลูกลองชิมน้ำทะเลว่ามีรสอย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ของที่ลอยในน้ำจืดไม่ได้อาจลอยในน้ำทะเลได้เพราะอะไร หรืออาจจะสอนเรื่องลมบกลมทะเล
ชี้ชมและแทรกความรู้เรื่องสัตว์ทะเล พืชทะเล ฯลฯ
2.3 แสดงความสนใจ แต่ไม่แสดงความกังวลในการเรียนของลูก ให้กำลังใจและเป็นที่พึ่งอย่างอบอุ่น
เมื่อเขาต้องการ แต่มิใช่ช่วยทำการบ้านแทนลูก เมื่อเขาเรียนดีก็ยกย่องชมเชยหรือให้รางวัลตามสมควร
แต่เมื่อเขาพลาด ก็ควรปรึกษากันหาสาเหตุและหาช่องทางแก้ไข
3. มีปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ
เด็กบางคนจิตใจได้รับความกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมในครอบครัว หรือที่โรงเรียน
เช่น พ่อแม่ทะเลาะกันบ่อยๆ แสดงความไม่ลงรอยต่อหน้าลูก พ่อแม่เคี่ยวเข็ญเรื่องการเรียนมากไป เมื่อเรียนไม่ได้ดีเท่าที่พ่อแม่ตั้งความหวังไว้ก็ถูกพ่อแม่ดุ เกรี้ยวกราดหรือตำหนิอย่างออกนอกหน้า
หรือบางรายถูกพ่อแม่ผลักดันเพื่อให้เก่งหลายๆ ด้าน เช่น ต้องเรียนดนตรีเป็นพิเศษอย่างจริงจัง
ทำให้กิจกรรมของเด็กเพิ่มมากขึ้นจนเด็กท้อถอย เด็กอาจไม่ชอบครูบางคน หรือถูกเพื่อนบางคนข่มขู่รังแกหรือหากเป็นระยะที่เพิ่งย้ายโรงเรียนอาจกำลังอยู่ในภาวะว้าวุ่น
เพราะยังปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ไม่ได้ดีพอ
ถ้าเด็กมีอาการหงุดหงิด เหม่อลอย ตกใจง่าย ปวดศีรษะบ่อยๆ เหนื่อยง่าย หมกมุ่น ไม่ร่าเริง
ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็ก (child psychiatrist) เพื่อหาสาเหตุและความผิดปรกติทางอารมณ์
และจิตใจเสียแต่เนิ่นๆ
มีเด็กจำนวนมากที่ระดับเชาวน์ปัญญาปกติ แต่เรียนไม่ดีเพราะมีปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ

ฉะนั้นอย่าเพิ่งด่วนตำหนิหรือซ้ำเติมลูกของท่าน จงพยายามหาสาเหตุทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนเสียก่อน

โดยครูกับผู้ปกครองร่วมมือกัน

พญ.สุพัฒนา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา

เวบไซต์ : สุนทรียภาพแห่งดนตรี เพื่อชีวีเป็นสุข : นี้ จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น
มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น หากข้อมูลหรือบทความใดๆ ไม่ถูกต้อง
กรุณาแจ้ง Webmaster เพื่อทำการแก้ไข จักเป็นพระคุณยิ่ง และกรุณาอย่านำข้อมูลในเวบไซต์นี้ไปใช้เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น

Webmaster : นายสันติ เที่ยงผดุง ตำแหน่ง ครู
โรงเรียนบ้านหนองแวงโสกพระ ต.หนองแวงโสกพระ อ.พล จ.ขอนแก่น
E-Mail : santi.t@obec.go.th, hs3ryg@gmail.com, Facebook : http://www.facebook.com/hs3ryg