MAIN MENU
หน้าแรก
ในหลวงของเรา
สาระความรู้เกี่ยวกับดนตรี
ดนตรีสากล
ดนตรีไทย
ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
ผลงานที่รับผิดชอบและภาคภูมิใจ
กิจกรรมวงดนตรีสากล
กิจกรรมวงดนตรีพื้นบ้าน
กิจกรรมวงดุริยางค์
กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ
VDO & Multimedia
VDO เฉลิมพระเกียรติ
VDO วงดนตรีสากล
VDO น่าสนใจ
กฎหมายที่จำเป็นต้องรู้
บทความน่าสนใจ
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
สอนลูกให้เป็นคนดี
เคล็ด (ไม่) ลับ
Link น่าสนใจ
IP ที่ท่านใช้ในขณะนี้
สถิติผู้เข้าชม
 

กลับหน้าสารบัญดนตรีไทย

บทนำ

          ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า

ประวัติดนตรีไทย

            ในสมัย กรุงศรีอยุธยา ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี " ไตรภูมิพระร่วง " กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และ กังสดาล

            สมัย กรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่ม ระนาดเอก เข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง

             สมัย รัตนโกสินทร์ เริ่มจาก
            รัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ
            รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรง ซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจาก เปิงมาง ของ มอญ
            รัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ ระนาดทุ้ม คู่กับ ระนาดเอก และ ฆ้องวงเล็ก ให้คู่กับ ฆ้องวงใหญ่
            รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก
            รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดง ละครดึกดำบรรพ์
            รัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดย หลวงประดิษฐไพเราะ
(ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกน ของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม แล้วจึงเป็นดนตรีไทยที่เราได้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งความแตกต่างระหว่างวงต่างๆ ผู้ประพันธ์ ท่านต่างๆ

 

ลักษณะ

            ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง ( Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด ( chord) เป็นพื้นฐานหลักตามแบบสากล

ลีลาดนตรีไทย

          ลีลาเครื่องดนตรีไทย หมายถึงท่วงท่าหรือท่วงทำนองที่เครื่องดนตรีต่างๆได้บรรเลงออกมา สำหรับลีลาของ เครื่องดนตรีไทย แต่ละเครื่องที่เล่นเป็น เพลง ออกมา บ่งบอกถึงคุณลักษณะและพื้นฐาน อารมณ์ ที่จากตัวผู้เล่น เนื่องมาจากลีลาหนทางของดนตรีไทยนั้นไม่ได้กำหนดกฏเกณฑ์ไว้ตายตัวเหมือนกับ ดนตรีตะวันตก หากแต่มาจากลีลาซึ่งผู้บรรเลงคิดแต่งออกมาในขณะเล่น เพราะฉะนั้นในการบรรเลงแต่ละครั้งจึงอาจมี ทำนอง ไม่ซ้ำกัน แต่ยังมี ความไพเราะและความสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆ อยู่

            ลักษณะเช่นนี้ได้อิทธิพลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มี"กฎเกณฑ์" อยู่ที่การวาง " กลอน " ลงไปใน "ทำนองหลัก" ในที่นี้ หมายถึงในเพลงไทยเดิมนั้นเริ่มต้นด้วย "เนื้อเพลงแท้ๆ" อันหมายถึง " เสียงลูกตก " ก่อนที่จะปรับปรุงขึ้นเป็น "ทำนองหลัก" หรือที่เรียกว่า " เนื้อฆ้อง " อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในชั้นเนื้อฆ้องนี้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นทำนองห่างๆ ยังไม่มีความซับซ้อนมาก แต่ยังกำหนดลักษณะในการเล่นไว้ให้ผู้บรรเลงแต่ละคนได้บรรเลงด้วยลีลาเฉพาะของตนในกรอบนั้นๆ โดยลีลาที่กล่าวมาก็หมายถึง " กลอน " หรือ "หนทาง" ต่างๆที่บรรเลงไปนั่นเอง

วงดนตรีไทย

ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ

•  วงปี่พาทย์

ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี , วงปี่พาทย์ไม้แข็ง , วงปี่พาทย์เครื่องห้า , วงปี่พาทย์เครื่องคู่ , วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ , วงปี่พาทย์ไม้นวม , วงปี่พาทย์มอญ , วงปี่พาทย์นางหงส์

•  วงเครื่องสาย

เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว , วงเครื่องสายเครื่องคู่ , วงเครื่องสายผสม , วงเครื่องสายปี่ชวา

•  วงมโหรี

ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่ , วงมโหรีเครื่องหก , วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก , วงมโหรีเครื่องคู่

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรี ไทยแบ่งตามลักษณะการทำให้เกิดเสียงได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า

เครื่องดนตรี ไทยแบ่งตามลักษณะการทำให้เกิดเสียงได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า

เครื่องดีด

•  จะเข้

•  กระจับปี่

•  เต้า

•  พิณ

•  ซึง

เครื่องสี

•  ซอด้วง

•  ซอสามสาย

•  ซออู้

•  สะล้อ

•  ซอแฝด

•  รือบับ

•  ซอกันตรึม

เครื่องตี

•  กรับ ได้แก่ กรับพวง และ กรับเสภา

•  ระนาด ได้แก่ ระนาดเอก , ระนาดทุ้ม , ระนาดเอกมโร , ระนาดทุ้มมโหรี , ระนาดเอกเหล็ก , ระนาดทุ้มเหล็ก , ระนาดแก้ว

•  ฆ้อง ได้แก่ ฆ้องมโหรี , ฆ้องมอญ , ฆ้องวงใหญ่ , ฆ้องวงเล็ก , ฆ้องโหม่ง , ฆ้องกระแต , ฆ้องระเบ็ง

•  ขิม

•  ฉาบ

•  ฉิ่ง

•  กลอง ได้แก่ กลองแขก , กลองมลายู , ตะโพน , ตะโพนมอญ , กลองทัด , กลองตุ๊ก , กลองยาว , มโหระทึก , บัณเฑาะว์ , โทน , รำมะนา , โทนชาตรี , กลองสองหน้า , เปิงมางคอก , กลองมังคละ

เครื่องเป่า

•  ขลุ่ย ได้แก่ ขลุ่ยหลิบ , ขลุ่ยเพียงออ , ขลุ่ยอู้

•  ปี่ ได้แก่ ปี่ใน , ปี่นอก , ปี่ไฉน , ปี่ชวา , ปี่มอญ

เพลงดนตรีไทย

แบ่งได้เป็น 4 แบบคือ

•  เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของ มนุษย์ ของ สัตว์ ของวัตถุต่าง ๆ และอื่น ๆ

•  เพลงขับร้อง ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น

•  เพลงละคร หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดง โขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น

•  เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน

 

 

 
เวบไซต์ : สุนทรียภาพแห่งดนตรี เพื่อชีวีเป็นสุข : นี้ จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น
มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น หากข้อมูลหรือบทความใดๆ ไม่ถูกต้อง
กรุณาแจ้ง Webmaster เพื่อทำการแก้ไข จักเป็นพระคุณยิ่ง และกรุณาอย่านำข้อมูลในเวบไซต์นี้ไปใช้เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น

Webmaster : นายสันติ เที่ยงผดุง ตำแหน่ง ครู
โรงเรียนบ้านหนองแวงโสกพระ ต.หนองแวงโสกพระ อ.พล จ.ขอนแก่น
E-Mail : santi.t@obec.go.th, hs3ryg@gmail.com, Facebook : http://www.facebook.com/hs3ryg