MAIN MENU
หน้าแรก
ในหลวงของเรา
สาระความรู้เกี่ยวกับดนตรี
ดนตรีสากล
ดนตรีไทย
ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
ผลงานที่รับผิดชอบและภาคภูมิใจ
กิจกรรมวงดนตรีสากล
กิจกรรมวงดนตรีพื้นบ้าน
กิจกรรมวงดุริยางค์
กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ
VDO & Multimedia
VDO เฉลิมพระเกียรติ
VDO วงดนตรีสากล
VDO น่าสนใจ
กฎหมายที่จำเป็นต้องรู้
บทความน่าสนใจ
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
สอนลูกให้เป็นคนดี
เคล็ด (ไม่) ลับ
Link น่าสนใจ
IP ที่ท่านใช้ในขณะนี้
สถิติผู้เข้าชม
 

กลับหน้าสารบัญดนตรีไทย

เพลงดนตรีไทย

 

เพลงดนตรีไทย

แบ่งได้เป็น 4 แบบคือ

•  เพลงหน้าพาทย์ คือเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอากัปกิริยาของตัว โขน ละคร หรือใช้สำหรับอัญเชิญพระเป็นเจ้า ฤษี เทวดา และครูบาอาจารย์ทั้งหลายให้มาร่วมใน พิธีไหว้ครู และพิธีที่เป็นมงคลต่างๆ
           อากัปกิริยาของตัวโขนละครต่างๆ นั้น เป็นกิริยาที่มองเห็นได้ เพราะกำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน เช่น กิริยาเดิน วิ่ง นั่ง นอน กิน เศร้าโศก ร้องไห้ ฯลฯ เป็นต้น ส่วนอากัปกิริยาของพระเป็นเจ้า ฤษี และเทพพรหมต่างๆ ที่อัญเชิญมาร่วมในพิธีไหว้ครู และพิธีมงคลต่างๆ นั้นถือว่าเป็นกิริยาสมมุติ เพราะมองไม่เห็น เช่น สมมุติว่าเวลานี้ได้เสด็จแล้ว ก็บรรเลงเพลงหน้าพาทย์รับเสด็จ
          อนึ่ง เพลงหน้าพาทย์นั้นถือเป็นเพลงชั้นสูง และมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงมักจะบรรเลงตามขนบดั้งเดิม ไม่นิยมดัดแปลงหรือแต่งเดิมอย่างเพลงที่ใช้บรรเลงทั่วไป นอกจากนี้แล้ว เพลงหน้าพาทย์ยังเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงเพียงอย่างเดียว ไม่มีบทร้องหรือเนื้อร้องประกอบ

รายชื่อเพลงหน้าพาทย์

  • 1 เพลงหน้าพาทย์สำหรับแสดงโขน
    • 1.1 เพลงที่เกี่ยวกับการต่อสู้
    • 1.2 เพลงที่เกี่ยวกับการแผลงฤทธิ์เดช
    • 1.3 เพลงที่เกี่ยวกับการจัดทัพและยกทัพ
    • 1.4 เพลงที่เกี่ยวกับการไปมาหรือเดินทาง
      • 1.4.1 เพลงเสมอ
      • 1.4.2 เพลงเชิด
      • 1.4.3 เพลงอื่นๆ
    • 1.5 เพลงที่เกี่ยวกับการกินและการดื่ม
    • 1.6 เพลงที่เกี่ยวกับการนอน
    • 1.7 เพลงที่เกี่ยวกับการอาบน้ำ แต่งตัว
    • 1.8 เพลงที่เกี่ยวกับแสดงความภาคภูมิใจ
    • 1.9 เพลงที่เกี่ยวกับการแสดงความเศร้าโศก
    • 1.10 เพลงที่เกี่ยวกับการอัญเชิญเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง
  • 2 เพลงหน้าพาทย์สำหรับไหว้ครู

1. เพลงหน้าพาทย์สำหรับแสดงโขน

    1.1 เพลงที่เกี่ยวกับการต่อสู้

  • ตระนิมิตร - ใช้เมื่อชุบชีวิตคนตายให้ฟื้น
  • รัว - เป็นการต่อสู้ธรรมดา หรือ เมื่อมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้นกะทันหัน

    1.2 เพลงที่เกี่ยวกับการแผลงฤทธิ์เดช

  • คุกพาทย์
  • รัวสามลา

    1.3 เพลงที่เกี่ยวกับการจัดทัพและยกทัพ

  • ปฐม (ตัวละครที่รำเพลงนี้มี สุครีพ และ มโหทร )
  • กราวนอก (ใช้บรรเลงประกอบการยกทัพของฝ่าย ลิง )
  • กราวใน (ใช้บรรเลงประกอบการยกทัพของฝ่าย ยักษ์ )

    1.4 เพลงที่เกี่ยวกับการไปมาหรือเดินทาง

           เพลงเสมอ

ใช้ในการเดินทางใกล้ๆ เพลงเสมอมีดังนี้

  • เสมอธรรมดา (ใช้กับตัวละครทั่วไป)
  • เสมอเถร (ใช้กับฤๅษี นักพรต)
  • เสมอมาร (ใช้กับยักษ์)
  • เสมอเข้าที่ (ใช้กับครูบาอาจารย์)
  • บาทสกุณี (ใช้กับ พระราม พระลักษณ์ )
  • เสมอมอญ (ใช้กับตัวละครที่เป็น มอญ )
  • เสมอลาว (ใช้กับตัวละครที่เป็น ลาว )
  • เสมอพม่า (ใช้กับตัวละครที่เป็น พม่า )

          เพลงเชิด

ใช้ในการเดินทางไกล การไล่ล่า การรบ แบ่งเป็น

  • เชิดธรรมดา (ใช้กับมนุษย์ทั่วไป)
  • เชิดนอก (ใช้กับการต่อสู้ของอมนุษย์)
  • เชิดฉาน (ใช้กับมนุษย์ที่อยู่กับสัตว์)
  • เชิดฉิ่ง (ใช้ประกอบการแสดงถึงที่ลึกลับ)

       เพลงอื่นๆ

  • กลม (ใช้กับเทพเจ้าระดับสูง)
  • โคมเวียน (ใช้กับเทวดาระดับล่าง)
  • พญาเดิน (ใช้กับพระมหากษัตริย์)
  • กลองโยน (ใช้ในกระบวนพยุหยาตรา)
  • เพลงฉิ่ง (ใช้ในการชมสวน ดอกไม้)
  • เพลงโล้ (ใช้ในการเดินน้ำ)
  • เพลงแผละ (ใช้กับสัตว์ปีก)

    1.5 เพลงที่เกี่ยวกับการกินและการดื่ม

  • นั่งกิน (สำหรับอัญเชิญครูบาอาจารย์ เพื่อถวายกระยาหารสังเวย)
  • เซ่นเหล้า (ใช้ตอนดื่ม สุรา หรือใช้ตอน ผี ปีศาจออกแสดง)

    1.6 เพลงที่เกี่ยวกับการนอน

  • ตระนอน
  • ตระบรรทมไพร

    1.6 เพลงที่เกี่ยวกับการอาบน้ำ แต่งตัว

  • ลงสรง (อาบน้ำ)
  • ลงสรงโทน (แต่งตัว)

    1.7 เพลงที่เกี่ยวกับแสดงความภาคภูมิใจ

  • ฉุยฉาย

    1.8 เพลงที่เกี่ยวกับการแสดงความเศร้าโศก

  • ทยอย (ใช้ตอนเดินร้องไห้)
  • โอดสองชั้น (ใช้สำหรับตัวละครที่มีศักดิ์สูง)
  • โอดชั้นเดียว (ใช้กับตัวละครทั่วไป)
  • โอดมอญ (ใช้กับตัวละครที่เป็นมอญ)

    1.9 เพลงที่เกี่ยวกับการอัญเชิญเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง

  • สาธุการ (ใช้เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดให้มาชุมนุมในพิธี ถือว่าเป็นเพลงศักดิ์สิทธิ์)
  • ตระเชิญ (ใช้เชิญเทวดาผู้ใหญ่)

2. เพลงหน้าพาทย์สำหรับไหว้ครู

        ใช้เพลงเดียวกับเพลงหน้าพาทย์โขน

 

•  เพลงขับร้อง ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น

•  เพลงละคร หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดง โขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น

•  เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน

 

 
เวบไซต์ : สุนทรียภาพแห่งดนตรี เพื่อชีวีเป็นสุข : นี้ จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น
มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น หากข้อมูลหรือบทความใดๆ ไม่ถูกต้อง
กรุณาแจ้ง Webmaster เพื่อทำการแก้ไข จักเป็นพระคุณยิ่ง และกรุณาอย่านำข้อมูลในเวบไซต์นี้ไปใช้เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น

Webmaster : นายสันติ เที่ยงผดุง ตำแหน่ง ครู
โรงเรียนบ้านหนองแวงโสกพระ ต.หนองแวงโสกพระ อ.พล จ.ขอนแก่น
E-Mail : santi.t@obec.go.th, hs3ryg@gmail.com, Facebook : http://www.facebook.com/hs3ryg