MAIN MENU
หน้าแรก
ในหลวงของเรา
สาระความรู้เกี่ยวกับดนตรี
ดนตรีสากล
ดนตรีไทย
ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
ผลงานที่รับผิดชอบและภาคภูมิใจ
กิจกรรมวงดนตรีสากล
กิจกรรมวงดนตรีพื้นบ้าน
กิจกรรมวงดุริยางค์
กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ
VDO & Multimedia
VDO เฉลิมพระเกียรติ
VDO วงดนตรีสากล
VDO น่าสนใจ
กฎหมายที่จำเป็นต้องรู้
บทความน่าสนใจ
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
สอนลูกให้เป็นคนดี
เคล็ด (ไม่) ลับ
Link น่าสนใจ
IP ที่ท่านใช้ในขณะนี้
ขอบคุณที่เยี่ยมชม
สาระน่ารู้
     ความเป็นมาของดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน      โน้ตลายเพลงวงโปงลาง      เพลงวงโปงลาง

 

เครื่องดนตรีอีสานใต้

เครื่องดนตรีประเภทตี

กลองกันตรึม
           กลองกันตรึม เป็นกลองขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายโทนทางภาคกลาง แต่มีความยาวมากกว่า ตัวกลองทำจากแก่นไม้ขนุนหรือลำต้นของต้นมะพร้าวก็ใช้ทำได้ แต่แก่ไม้ขนุนเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะทำให้เสียงดังกังวาน การทำใช้วิธีกลึงภายนอกให้เป็นรูปกลอง และขุดภายในให้กลวง โดยให้มีความหนาของตัวกลองประมาณ 1 นิ้ว พร้อมทั้งตบแต่งผิวภายนอกให้เรียบและขัดเงา
การขึงหนังกลอง หนังที่นิยมใช้คือหนังของลูกวัว หนังงูเหลือม หนังตะกวด แต่ที่นิยมกันมาก คือ หนังลูกวัว ที่นำมาฟอกโดยการแช่ในน้ำเกลือ แล้วตำให้หนังบาง เมือหนังบางจนได้ที่ดีแล้ว ก็นำไปขึงตึงบนหน้ากลองในขณะที่หนังยังเปียกอยู่การขึงหนังกลองใช้วิธีเจาะรูโดยรอบ ร้อยเชือกสลับยึดที่เอวกลอง (ส่วนที่คอดขึงตัวกลอง) โดยใช้ลวดแข็งขนาดใหญ่เป็นที่สาวเชือกเพื่อให้หนังกลองตึง เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ กลองกันตรึมนี้ เป็นกลองที่ไม่มีไส้ละมาน
ขนาดของกลอง กลองกันตรึมที่ใช้โดยทั่วไป จะมี 2 ลูก เรียกว่าตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งทั้งคู่มีขนาดเท่ากัน เรียกชื่อแตกต่างกันที่ระดับเสียงทุ้ม แหลมที่เกิดจากการขึงหนังกลองให้ตึงมากน้อยแตกต่างกันเท่านั้น

กลองตุ้ม , ตี
           กลองสองหน้าขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 60 เซนติเมตร ยาว 70-75 เซนติเมตร ขึงหน้าสองหน้าด้วยหนังวัว ตรึงด้วยหมุด ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ใช้แขวนตีด้วยไม้เช่นเดียวกับกลองทัดและกลองเพล (ภาคกลาง)
กลองตุ้ม เป็นกลองที่ตีให้สัญญาณตามวัดมาช้านานแล้ว ชาวอีสานใต้นำมาประสมวงตุ้มโมงไม่ทราบว่าแต่ครั้งใด
การเทียบเสียง แล้วแต่ขนาดของกลอง แต่ตามปกติจะมีเสียงดังสะท้านกังวาลไปไกลมาก

สากไม้
           โดยปกติใช้ตำข้าว แต่นำมาใช้เป็นเครื่องประกอบจังหวะและประกอบการเล่น “ เรือมอันเร ”
( ลาวกระทบไม้และม้าจกคอกของพายัพ) สากคู่หนึ่งยาวประมาณ 2 เมตร วางไว้บนอีกคู่หนึ่งประมาณ 1 เมตร สากทั้งสองคู่นี้นิยมทำด้วยไม้แทน เวลาเล่นใช้คน 2 คน จับสากคู่บน (คนละข้าง) กระทบกันและกระทบลงบนสากที่รองข้างล่างเป็นจังหวะ
การเทียบเสียง ใช้กระทบเป็นจังหวะเท่านั้น

ฆ้องราว
           ตัวฆ้องทำด้วยโลหะหล่อขนาดต่าง ๆ กันจำนวน 9 ลูก ผูกด้วยเชือกหนังแขวนไว้กับราวที่ทำด้วยหวายเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว ๆ คล้ายราง ตีด้วยไม้
การเทียบเสียง ไม่มีการเทียบเสียง แลัวแต่ขนาดของลูกฆ้องเรียงจากลูกใหญ่อยู่ด้านซ้ายมือไปหาลูกเล็กทางขวามือ
เวลาตีตีเรียงกันไปทีละลูก จากซ้ายไปขวาไม่มีทำนอง

เครื่องดนตรีประเภทสี

ซอกันตรึม
           ซอกันตรึมเป็นซอที่มีลักษณะคล้ายกันกับซออู้ แตกต่างกันเพียงตรงที่ กะโหลกซอกันตรึมจะใหญ่กว่า ซอกันตรึมที่มีเสียงสูง และมีลักษณะคล้ายซอด้วงจะเรียกกันว่า “ ซอตรัวเอก ” ( ตรัวแปลว่าซอ) แต่ถ้าซอกันตรึมที่มีระดับเสียงทุ้มต่ำคล้ายซออู้ และกะโหลกทำด้วยกระลามะพร้าว เรียกว่าซออู้เหมือนกัน ซอกันตรึมทั้งสองนี้ มีระดับเสียงสูงกว่าระดับเสียงของซออู้และซ้อด้วงธรรมดา สายละ 1 เสียงเต็ม กล่าวคือ ทั้งคู่ขึ้นเสียงตามปี่ใน
           กะโหลกของซอตรัวเอก ทำจากไม้เนื้อแข็ง กว้านให้กลวงโดยเหลือความหนาเฉลี่ยโดยประมาณ 0.5 นิ้ว ขึงหนังด้านหนึ่งด้วยหนังตะกวด หรือหนังลูกวัวบางๆ และมีรูสำหรับสอดใส่คัดทวน ปลายคันคันทวนมีลูกบิดสองลูก สำหรับขึงสาย ส่วนสายนั้นทำด้วยลวดเหนียว โดยมากที่พบเห็นมักใช้ลวดจากสายเบรครถจักรยาน ขนาดของซอกันตรึม มักจะไม่เป็นมาตรฐานที่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับฝีมือและความพอใจของผู้ประดิษฐ์

ตรัวอู้
           เครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกระโหลกมะพร้าว ฝานออกด้านหนึ่งหุ้มด้วยหนัง ด้านตรงข้ามเป็นกล่องเสียง คันซอทำด้วยไม้ สายทำด้วยลวด คันชักอยู่ระหว่างสาย มีเล่นกันในท้องถิ่นมาช้านานแล้ว
การเทียบเสียง ขึ้นคู่ 5 โด-ซอล

ซอกระดองเต่าและซอเขาควาย
           เครื่องสายชนิดหนึ่งใช้คันชักสี คันชักอยู่ระหว่างสายลวด ตัวกล่องเสียงด้วยกระดองเต่าตัดส่วนหน้าออกขึงด้วยหนังงู คันซอทำด้วยไม้ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร มีลูกบิดขึงสาย 2 อัน อยู่ตอนบนของคันซอ ขนาดที่ทำแตกต่างกันไปแล้วแต่ความต้องการ
อีกชนิหนึ่งใช้เขาควายตัดตามขนาดที่ต้องการขึงหน้าด้านหนึ่ง
การเทียบเสียง ขึ้นคู่ 4 ระหว่างสายทั้งสองเส้น เทียบเสียงเข้ากับเครื่องดนตรีอื่น ๆ เวลาเล่นประสมวง

เครื่องดนตรีประเภทเป่า

ปี่อ้อ (แป็ยออ)
           ปี่อ้อ เป็นปี่ที่มีลักษณะแปลกไปจากปี่โดยทั่วๆไปที่ใช้อยู่ในวงดนตรีต่างๆ ของไทยคือ ลำตัวและลิ้นแบ่งส่วนออกจากกัน และทำด้วยไม้อ้อ ส่วนที่เป็นลิ้นจะถูกเหลาให้บางและบีบให้แบนประกบกันในลักษณะของลิ้นแฝด แต่อีกด้านหนึ่งยังมีลักษณะกลมอยู่เพื่อสอดเข้ากับตัวปี่ ที่ปลายลิ้นมีไม้ไผ่เหลาแบนเล็ก ๆ 2 อันบีบ ประกบลิ้นเพื่อให้ลิ้นแบนและเป็นที่จรดเม้มปากอีกด้วย ส่วนลำตัวของปี่ เจาะรู 7 รู สำเนียงของปี่อ้อจะทุ่มมีกังกวานแหบต่ำ ฟังดูลึกลับไม่เบิกบาน แต่แฝงไว้ด้วยอำนาจ ชาวจังหวัดสุรินทร์พื้นเมืองเดิมรู้จักปี่อ้อมานาน หาผู้เป่าได้ยากมาก

ปี่เตรียง หรือ ปี่เญ็น
            ปี่ชนิดนี้ มีลักษณะที่แปลกไม่เคยพบเห็นในท้องที่อื่นนอกจากแถบจังหวัดสุรินทร์ ตัวปี่และลิ้นอยู่รวมกันโดยไม้ไผ่ขนาดเท่าขลุ่ยเพียงออ แต่ไม่กลวงตลอด ปลายท่อด้านลิ้นจะปิด จัดเป็นเครื่องลมไม้ชนิดท่อปลายปิด ส่วนปลายปิดนี้จะเป็นส่วนของลิ้นโดยใช้มีดปาดเฉลียงแบบล้นเดียว ปี่ชนิดนี้หาดูยากมาก
ส่วนที่เป็นลิ้น เกิดจากการถูกบีบปลายท่อ และปาดให้เป็นมุม โดยมีความบางพอที่จะเกิดความสั่นสะเทือนได้ เมื่อเป่าล้มผ่านลงไป

ปี่เขาควาย
           เป็นปี่ที่ทำมาจากเขาสัตว์ กลลุ่มวัฒนธรรมกันตรึมเรียกว่า ปี่สไนง์หรือสแนง เป็นปี่ชนิดที่ทำมาจากเขาควายโดยเจาช่องเป็นด้านยอดของเขาควายใส่ลิ้นอย่างเดียวกับแคน ผนึกด้วยขี้สูดให้สนิทใช้เชือกผูกปลายเขาทั้งสองข้าง แขวนคอแล้วเป่าโดยใช้อุ้มมือขวาเปิดปิดเพื่อควบคุมระดับเสียง ได้ประมาณ 3 เสียงนิยมเป่าประกอบเซิ้งบั้งไฟหรือขบวนแห่ต่าง ๆ สำหรับพวกส่วยหรือกุยมีอาชีพคล้องข้าวในแถบจังหวัดสุรินทร์นิยมใช้สไนง์

ปี่ไฉน , ปี่สไน , ปี่เน
           ปี่ไฉนเป็นปี่ลิ้นคู่ ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลสวมต่อกับเลาปี่ที่ทำด้วยไม้ ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร มีรูบังคับเสียง 6 รู และรูหัวแม่มืออีก 1 รู ตรงปลายเลาปี่ทำเป็นปากลำโพง ขนาดประมาณ 5-7 เซนติเมตร คล้ายปี่ไฉนภาคกลาง และปี่ไฉนภาคใต้ มีหลักฐานว่าปี่ไฉนมีใช้มาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในภาคอีสานมีมาช้านานแล้ว
การเทียบเสียง เป็นระบบ 5 เสียง

 

เครื่องดนตรีประเภทดีด

พิณกระแสเดียวหรือกระแสมุย
          พิณกระแสเดียวหรือกระแสมุย แปลว่า พิณเสียงเดียวหรือพิณสายเดียว
กระโหลกพิณทำด้วยลูกน้ำเต้าแก่จัดตากให้แห้ง ตัดครึ่งด้านยาวของผลและแกะเมล็ดในออกและเยื่อออกให้หมดใช้หมายขันชะเนาะกระโหลกน้ำเต้า ให้ติดกับโคนของพิณลูกบิดอยู่ในสุดของคันพิณ ขึงโยงด้วยสายโลหะจากลูกบิดสอดหวายที่ขันชะเนาะอยู่ไปผูกกับปลายคันพิณตอนปลายสุด มีลักษณะงอนเป็นรูปพญานาคชูหัว ชาวไทยภาคกลางเรียกว่า พิณน้ำเต้า

พิณน้ำเต้า
           พิณสายเดียวทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ 75 เซนติเมตร ปลายข้างหนึ่งทำด้วยโลหะหล่อเป็นลวดลายสำหรับขึงสายสวมติดไว้ ด้านตรงข้ามมีลูกบิด ทำด้วยไม้เนื้อแข็งสอดไว้ กล่องเสียงทำด้วยผลน้ำเต้ามีเชือกรัดสายพิณ ซึ่งทำด้วยโลหะให้คอดตรงบริเวณใกล้กล่องเสียง ใช้บรรเลงด้วยการดีดดัวยนิ้วมือ เวลาบรรเลงจะใช้กล่องเสียงประกบกับอวัยวะร่างกาย เช่นหน้า อก หรือท้อง มีเสียงเบามากสามารถทำหางเสียง ( Harmonic ) ได้ด้วย พิณน้ำเต้าเป็นเครื่องดีดที่เก่าแก่มากชิ้นหนึ่ง มีเล่นกันมาหลายร้อยปีแล้ว ไม่อาจระบุระยะเวลาได้
การเทียบเสียง ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว แล้วแต่ผู้บรรเลงจะพอใจเพราะใช้บรรเลงโดยเอกเทศ

จาเปยหรือกระจับปี่
           มีลักษณะคล้าย ซึง มีสายคู่ซึ่งสายแต่ละคู่ตั้งเสียงให้เท่ากัน คันพิณทำด้วยไม้เนื้อแข็งส่วนกล่องเสียงมักทำด้วยไม้ขนุน หรือไม้สักที่ส่วนปลายสุดของคัณพิณมี 4 รู เพื่อใส่ลูกบิดและร้อยสายที่คันพิณจะมีที่วางนิ้ว ซึ่งมีระดับเสียงต่าง ๆ กัน มีสาย 2-4 สาย

อังกุ๊ยจ์
          เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ชาวไทยภาคกลางเรียกว่า จ้องหน่อง ชาวอีสานเรียก หุนหึน ทำด้วยไม้ไผ่เวลาเป่าจะสอดไว้ในปาก

การประสมวงดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้

 
           
เวบไซต์ : สุนทรียภาพแห่งดนตรี เพื่อชีวีเป็นสุข : นี้ จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น
มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น หากข้อมูลหรือบทความใดๆ ไม่ถูกต้อง
กรุณาแจ้ง Webmaster เพื่อทำการแก้ไข จักเป็นพระคุณยิ่ง และกรุณาอย่านำข้อมูลในเวบไซต์นี้ไปใช้เพื่อการค้าหรือธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น

Webmaster : นายสันติ เที่ยงผดุง ตำแหน่ง ครู
โรงเรียนบ้านหนองแวงโสกพระ ต.หนองแวงโสกพระ อ.พล จ.ขอนแก่น
E-Mail : santi.t@obec.go.th, hs3ryg@gmail.com, Facebook : http://www.facebook.com/hs3ryg